Search results

2 results in 0.04s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประชากรได้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด 2,800 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie&Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลําดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหาร (วิธูโร) ส่วน ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงาน ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คือ ควรเพิ่มการจัดให้มีการอบรมเพื่อเติมความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ผู้บริหารควรพบปะพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของพนักงานให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประชากรได้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด 2,800 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie&Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลําดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหาร (วิธูโร) ส่วน ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงาน ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คือ ควรเพิ่มการจัดให้มีการอบรมเพื่อเติมความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ผู้บริหารควรพบปะพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของพนักงานให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the Buddhist leadership of executives of Kasikornbank Public Company Limited, 2) to compare the Buddhist leadership of executives of Kasikornbank Public Company Limited based on opinions of the employees working in Rat Burana Head Office with different genders, ages, work-durations, education levels and monthly incomes, and 3) to study suggestions about the problems and guidelines for solving leadership according to Buddhism of executives of Kasikornbank Public Company Limited. The populations used in the study were 2800 employees working in the Rat Burana Headquarters, in Rat Burana sub-district, Rat Burana District of Bangkok. 338 samples were obtained by using Krejcie and Morgan tables. The data were collected by questionnaire and analyzed by a ready-made computer program. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and the LSD method. The results reveal that: 1) The opinion of employees on the leadership according to the Buddhist concept of executives of Kasikornbank Public Company Limited in all three areas was at a high level. When considering in details with descending order, the vision (Cakkhuma) was at the highest level, followed by management (Vidhuro) and interpersonal relations (Nissayasampanno) respectively. 2) The results of comparison, the employees with different genders, ages, employments, education levels and monthly incomes had no different opinions with statistically significant figure at the .05 level. 3) The suggestions for solving the problems and the solutions in leadership according to Buddhism of executives of Kasikornbank Public Company Limited are that; the executives should be trained, re-skilled and up-skilled in administration, the meetings between the executives and employees should be arranged regularly to build a good relationship to each other, listen to problems in work and seek for cooperation and participation, and the employees should be allowed to share their opinions and participate in organization development.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครู จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านจริยธรรมต่อตนเอง ด้านจริยธรรมต่อความรับผิดชอบงาน ด้านจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน และด้านจริยธรรมต่อการปฏิบัติงาน 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคต่อผู้อื่นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครูผู้อื่น ควรยกย่องและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ควรมีการทำงานอย่างเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสามัคคี มีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วน ถูกต้อง มีการกระจายอำนาจในการบริหารงาน และมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครู จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านจริยธรรมต่อตนเอง ด้านจริยธรรมต่อความรับผิดชอบงาน ด้านจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน และด้านจริยธรรมต่อการปฏิบัติงาน 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคต่อผู้อื่นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครูผู้อื่น ควรยกย่องและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ควรมีการทำงานอย่างเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสามัคคี มีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วน ถูกต้อง มีการกระจายอำนาจในการบริหารงาน และมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
The purposes of this study were 1) to study the Ethical leadership of school administers under the Secondary education service Area office 24, 2) to compare the ethical leadership of school administrators under the Secondary education service Area office 24, classified by gender, age, level education, and work experience, 3) to study the ethical leadership of school administers under the Secondary education service Area office 24. The sample used in this research was 317 teachers under the Secondary education service Area 24. The tool used for data collection was a questionnaire with a 5 level estimation scale with content validity of 1.00, and a confidence was 0.93. estimation scale. The statistics used were Standard deviation mean, the hypothesis was tested by t-test and F-test. The data was analyzed by a computer. The result of the research found that 1. The Ethical leadership of school administers under the Secondary education service Area office 24, overall was at a high level. Ranking from the highest average to the lowest average ethical aspects towards oneself, ethical aspects of job responsibilities, ethical aspects towards colleagues, and ethical aspects of performance. 2. The results of the comparison of ethical leadership of the school administrators under the Secondary education service Area office 24, classified by gender, age, education level, and work experience in overall and each aspect was not different. 3. Recommendations on the ethical leadership of the school administrators under the Secondary education service Area office 24: school administrators should be fair, provide fairness to everyone, took responsibility form oneself and other teachers, should be dignified to their colleagues, there should be team work to achieve unity, discloser of complete and correct information, decentralized administration and problem solving systematically.