Search results

2 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประชากรได้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด 2,800 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie&Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลําดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหาร (วิธูโร) ส่วน ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงาน ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คือ ควรเพิ่มการจัดให้มีการอบรมเพื่อเติมความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ผู้บริหารควรพบปะพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของพนักงานให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประชากรได้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด 2,800 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie&Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลําดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหาร (วิธูโร) ส่วน ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงาน ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คือ ควรเพิ่มการจัดให้มีการอบรมเพื่อเติมความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ผู้บริหารควรพบปะพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของพนักงานให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the Buddhist leadership of executives of Kasikornbank Public Company Limited, 2) to compare the Buddhist leadership of executives of Kasikornbank Public Company Limited based on opinions of the employees working in Rat Burana Head Office with different genders, ages, work-durations, education levels and monthly incomes, and 3) to study suggestions about the problems and guidelines for solving leadership according to Buddhism of executives of Kasikornbank Public Company Limited. The populations used in the study were 2800 employees working in the Rat Burana Headquarters, in Rat Burana sub-district, Rat Burana District of Bangkok. 338 samples were obtained by using Krejcie and Morgan tables. The data were collected by questionnaire and analyzed by a ready-made computer program. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and the LSD method. The results reveal that: 1) The opinion of employees on the leadership according to the Buddhist concept of executives of Kasikornbank Public Company Limited in all three areas was at a high level. When considering in details with descending order, the vision (Cakkhuma) was at the highest level, followed by management (Vidhuro) and interpersonal relations (Nissayasampanno) respectively. 2) The results of comparison, the employees with different genders, ages, employments, education levels and monthly incomes had no different opinions with statistically significant figure at the .05 level. 3) The suggestions for solving the problems and the solutions in leadership according to Buddhism of executives of Kasikornbank Public Company Limited are that; the executives should be trained, re-skilled and up-skilled in administration, the meetings between the executives and employees should be arranged regularly to build a good relationship to each other, listen to problems in work and seek for cooperation and participation, and the employees should be allowed to share their opinions and participate in organization development.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
The objectives of this thesis were 1) to study the Buddhism-based leadership of administrators of the General Education Section Phrapariyattidhamma School in Kalasin province, 2) to compare the General Buddhism-based leadership of administrators of the school in mention, classified by gender, position, and work experiences and 3) to explore the suggestions and the leadership development guidelines for the administrators of the so-said schools in Kalasin province. The samples used in this research were 132 administrators and teachers of the schools as mentioned, together with 10 interviews. The tools used for data collection were a 5-rating scale questionnaire with content validity between 0.67-1.00 , and reliability at 0.94, and a semi-structured interviews. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. Statistics used to test the hypothesis were t-tests and One Way ANOVA using F-test statistics. The results found can be summarized as follows: 1) The Buddhism-Based Leadership of Administrators of the Education Section Section Phrapariyattidham School in Kalasin Province was in an overall dimension found to be at a high level. In terms of individual aspects as sorted from the highest to the lowest average, it was found that human relationship (Nissayasampanno) stood on top of the scale, followed by vision (Cakkhuma)), with the clearly fixed management goal (Vidhuro) being at the bottom. 2) The comparison of opinions about the Buddhism-based leadership of the administrators in the so-said schools, classified by gender, position and job experiences, was found that the comparison in terms of sex showed a statistically significant difference at the 0.5 level, while the comparison classified by position and work experiences displayed no statistically significant difference. 3) The suggestions as suggested by the respondents were as follows: 1) The administers should organize training plans or projects to implant discipline, morality, and ethics into students’ hearts so as to correct undesirable behaviors. 2) The strategies, missions and target should be established and brought into practiced effectively and efficiently. 3) The administrators were advised to realize the problems lying in the ways to achievement as well as their solutions. 4) The measures to encourage, promote and reward the saff members should be set up appropriately. 4) The leadership development guidelines as recommended by constructed interviews comprised:1) For vision (Jakkhuma), there should be a policy to encourage the staff members to work with dedication. 2) Regarding administrative technics (Vidhuro), the management goal should be mutually set up, and any plan for school administration should be relied on sufficient and reliable information. 3) As for human relationship (Nissayasampanno), information and communication technology should be implemented in order to achieve goals as set.