Search results

3 results in 0.07s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักสัปปุริธรรม ๗ ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) เพื่อศึกษาหลักสัปปุริสธรรม ๗ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมตามหลักตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร คือศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และตำราอื่นๆ ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า สัปปุริสธรรม เป็นธรรมของสัปปุริสชน คือ คนดี หรือคนที่แท้ ซึ่งมีความเป็นคนที่สมบูรณ์ และถือเป็นคุณธรรมที่สำคัญของการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่สมบูรณ์ ๗ ประการ ได้แก่ การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักตน การรู้จักประมาณ การรู้จักเวลา การรู้จักชุมชน และการรู้จักบุคคล พฤติกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลแสดงออกซึ่งสามารถสังเกตได้โดยตรง หรืออยู่ในกระบวนการทางจิตใจ ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และแรงขับ ซึ่งเป็นประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ไม่สามารถจะสังเกตได้โดยตรงพฤติกรรมของมนุษย์ที่เห็นได้ง่าย คือพฤติกรรมทางกายและวาจา เช่น การแสดงความเห็นแก่ตัว การทำจริตต่างๆ และการแสดงวาจาทุจริต เป็นต้น พฤติกรรมที่ไม่ดีเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นการกระทำที่สุจริตและการแสดงวาจาที่สุจริตหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่านิสัยชอบทำกรรมชั่วของคนเราจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้มีนิสัยชอบทำ หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าเป็นข้อประพฤติปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม แบ่งเป็น ๗ ประการ ได้แก่ การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักตน การรู้จักประมาณ การรู้จักเวลา การรู้จักชุมชน และการรู้จักบุคคล จะสามารถควบคุมพฤติกรรมและพัฒนาทางร่างกาย และจิตใจของตนเองได้ ทำให้สังคมมนุษย์อยู่อย่างสงบสุข ภายใต้กฎระเบียบวินัย และกฎเกณฑ์ของสังคม นอกจากนี้ยังพัฒนาตนเองไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล ๔ จำพวก คือ โสดาบันบุคคล อนาคามีบุคคล สกทาคามีบุคคล และพระอรหันต์ ได้ในที่สุดการพัฒนาชีวิตมนุษย์นั้นพุทธปรัชญาให้ความสำคัญทั้ง ๒ ปัจจัย คือ นามธรรม และกายภาพเพื่อพัฒนาชีวิตให้ไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตทั้งในระดับโลกียะและโลกุตระ พุทธปรัชญาได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทั้ง ๒ ด้านไปพร้อมๆ กันในขณะเดียวกันก็เน้นมาทางด้านจิตใจ เพราะเชื่อว่าศักยภาพทางจิตใจเป็นตัวกำหนดกระบวนการของชีวิตให้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ พระนิพาน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักสัปปุริธรรม ๗ ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) เพื่อศึกษาหลักสัปปุริสธรรม ๗ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมตามหลักตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร คือศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และตำราอื่นๆ ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า สัปปุริสธรรม เป็นธรรมของสัปปุริสชน คือ คนดี หรือคนที่แท้ ซึ่งมีความเป็นคนที่สมบูรณ์ และถือเป็นคุณธรรมที่สำคัญของการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่สมบูรณ์ ๗ ประการ ได้แก่ การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักตน การรู้จักประมาณ การรู้จักเวลา การรู้จักชุมชน และการรู้จักบุคคล พฤติกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลแสดงออกซึ่งสามารถสังเกตได้โดยตรง หรืออยู่ในกระบวนการทางจิตใจ ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และแรงขับ ซึ่งเป็นประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ไม่สามารถจะสังเกตได้โดยตรงพฤติกรรมของมนุษย์ที่เห็นได้ง่าย คือพฤติกรรมทางกายและวาจา เช่น การแสดงความเห็นแก่ตัว การทำจริตต่างๆ และการแสดงวาจาทุจริต เป็นต้น พฤติกรรมที่ไม่ดีเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นการกระทำที่สุจริตและการแสดงวาจาที่สุจริตหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่านิสัยชอบทำกรรมชั่วของคนเราจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้มีนิสัยชอบทำ หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าเป็นข้อประพฤติปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม แบ่งเป็น ๗ ประการ ได้แก่ การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักตน การรู้จักประมาณ การรู้จักเวลา การรู้จักชุมชน และการรู้จักบุคคล จะสามารถควบคุมพฤติกรรมและพัฒนาทางร่างกาย และจิตใจของตนเองได้ ทำให้สังคมมนุษย์อยู่อย่างสงบสุข ภายใต้กฎระเบียบวินัย และกฎเกณฑ์ของสังคม นอกจากนี้ยังพัฒนาตนเองไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล ๔ จำพวก คือ โสดาบันบุคคล อนาคามีบุคคล สกทาคามีบุคคล และพระอรหันต์ ได้ในที่สุดการพัฒนาชีวิตมนุษย์นั้นพุทธปรัชญาให้ความสำคัญทั้ง ๒ ปัจจัย คือ นามธรรม และกายภาพเพื่อพัฒนาชีวิตให้ไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตทั้งในระดับโลกียะและโลกุตระ พุทธปรัชญาได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทั้ง ๒ ด้านไปพร้อมๆ กันในขณะเดียวกันก็เน้นมาทางด้านจิตใจ เพราะเชื่อว่าศักยภาพทางจิตใจเป็นตัวกำหนดกระบวนการของชีวิตให้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ พระนิพาน
The purposes of the thesis were: 1) to study qualities of a good man, 2) to study develop human beings’ behavior, and 3) to study qualities of a good man for developing of human beings in society following Theravada Buddhist Philosophy. It has been carried out with qualitative research methodology, of which its sources include The Tipitaka, relevant researches and other texts to supplement it. The results of the research were found that: Sappurisadharma refers to the virtue of a saint, a good person or a person who is completely human. And it is the moral virtue of the development of human behavior in seven complete societies, namely, the recognition of the result of knowing one's self. Knowing time getting to know the community and recognition. Behavior refers to everything a person does that can be observed directly, or in a mental process, i.e., thoughts, feelings, and motives, which are the experiences of the individual who can not be observed directly. Human behavior that is easily seen is physical and verbal behavior, such as selfishness. Making a difference. These bad behaviors need to be altered to act in good faith and verbal expression. In other words, the bad habits of our people need to be changed. To have a habit of doing. The 7th principle of the development of human behavior in Theravada Buddhism. It is a practice for physical control and speech to be placed in goodness, divided into seven categories, namely, knowing the result, knowing the results, knowing oneself, knowing the approximation. Knowing time getting to know the community and recognition It can control behavior and develop physically. Their own minds. Human society is peaceful. Under disciplinary rules And social norms Finally, the development of human life, the philosophy of Buddhism, attaches importance to the two factors, namely, the abstraction and the physical, in order to develop the life to the goal (Nirvana).
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ปีพุทธศักราช 2563 จำนวน 168 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานเชิงบูรณาการตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการ และด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการ 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการธำรงรักษา การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคคล ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคคล และลำดับสุดท้าย ด้านการวางแผนกําลังบุคคล อยู่ในระดับมากตามลำดับ 3) การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา คือ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X1) ด้านการจัดการองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X2) ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X4) และด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X5) โดยสามารถพยากรณ์การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร่วมกันร้อยละ 66.40 (R2 = 0.664) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y' = 0.659+.0.221 (X4) + 0.232 (X1) + 0.217 (X5) + 0.177 (X2) (R2 = 0.664) สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.267 (X4) + 0.249 (X1) + 0.263 (X5) + 0.186 (X2) (R2 = 0.664)
วิทยานิพนธ์นี้ วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ปีพุทธศักราช 2563 จำนวน 168 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานเชิงบูรณาการตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการ และด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการ 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการธำรงรักษา การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคคล ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคคล และลำดับสุดท้าย ด้านการวางแผนกําลังบุคคล อยู่ในระดับมากตามลำดับ 3) การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา คือ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X1) ด้านการจัดการองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X2) ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X4) และด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X5) โดยสามารถพยากรณ์การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร่วมกันร้อยละ 66.40 (R2 = 0.664) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y' = 0.659+.0.221 (X4) + 0.232 (X1) + 0.217 (X5) + 0.177 (X2) (R2 = 0.664) สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.267 (X4) + 0.249 (X1) + 0.263 (X5) + 0.186 (X2) (R2 = 0.664)
The objectives of the study were: 1) to study the integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of Phrapariyti-Dhamma School administrators, department of general education, Nakhon Ratchasima Province, 2) to study the personnel management of Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province and, 3) to study the integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of administrators affecting the personnel management of Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province. A sample was selected from 168 persons in 2020 of administrators, deputy executive, the head of personnel management and, school teachers in Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province. The results of the study were as follows: 1) Integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of Phrapariyti-Dhamma School administrators, department of general education, Nakhon Ratchasima Province in overall was high level. The average from high to low was that Integrated organization management, Integrative coordination, integrated control, integrated planning, and Integrative director. 2) The personnel management of Phrapariyti-Dhamma School administrators, department of general education, Nakhon Ratchasima Province in overall was high level. The average from high to low was that the personnel maintenance, work performance evaluation, personnel development, personnel recruitment and appointment and, personnel planning was high level respective. 3) Integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of administrators affecting the personnel management of Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province namely Integrated planning of Sappurisa-Dhamma (X1), Integrated organization management of Sappurisa-Dhamma (X2), Integrative coordination of Sappurisa-Dhamma (X4) and, Integrated control of Sappurisa-Dhamma (X5) which predicted the Integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of administrators was statistically significant at 0.01 level, and the prediction power had together was 66.40% (R2 = 0.664). The prediction equation forms of raw score were as follows: The raw score: Y′ = 0.659+0.232X1 + 0.177X2 + 0.221X4 + 0.217X5 The standard equation: Z′y = 0.249ZX1 + 0.186ZX2 + 0.267ZX4 + 0.263ZX5