Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1)เพื่อศึกษาการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 72.7 มีอายุระหว่าง 30-40 ปีจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 2) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุ และระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้ (1) ด้านฉันทะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความภูมิใจในงานทำ (2) ด้านวิริยะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความเพียร มุมานะ ในการทำหน้าที่ (3) ด้านจิตตะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีการตั้งใจถ่ายทอดความรู้ในการทำงาน (4) ด้านวิมังสา ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ไตร่ตรองงานที่ทำด้วยความเข้าใจ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1)เพื่อศึกษาการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 72.7 มีอายุระหว่าง 30-40 ปีจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 2) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุ และระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้ (1) ด้านฉันทะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความภูมิใจในงานทำ (2) ด้านวิริยะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความเพียร มุมานะ ในการทำหน้าที่ (3) ด้านจิตตะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีการตั้งใจถ่ายทอดความรู้ในการทำงาน (4) ด้านวิมังสา ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ไตร่ตรองงานที่ทำด้วยความเข้าใจ
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees, 2) to compare the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees with different gender, age and work period, and 3) to study the suggestions on the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees. 66 samples were used in this research. The data were collected by open-ended and close-ended questionnaires and analyzed by a ready-made computer program for frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results of the study revealed that: 1) 48 respondents or 72.7 percent were men. 26 respondents or 39.4 percent were 30-40 years of age, and 17 respondents or 25.8 percent worked with the life insurance for more than 10 years. 2) The application of Iddhipada in living a life of life insurance agent employees was at a high level overall. In details, the highest level was on Chanda, followed by Viriya, Citta, and Vimamsa respectively. 3) The results comparison of genders base of insurance agents who apply Iddhipada for the prosperity of livelihood, is resulting in a different outcome. Thus, by focusing on a gender factor, the overall adjustment of Iddhipada to daily life by insurance agents are differing. However, the results of lifetime duration and working duration of the insurance agents who apply Iddhipada for a prosperous livelihood are not distinguishingly varying at .05 level. 4) Suggestions regarding the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees are as follows: (1) In Chanda, the most suggestion is pride in the work. (2) In Viriya, the most suggestion is on the persistence in performing duty. (3) In Citta, the most suggestion is on intentional transfer of knowledge in the work to others. (4) In Vimamsa, the most suggestion is to reflect on the work done with a critical understanding.