Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 295 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการเข้าสังคม ด้านการประสานงาน ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการมีความคิดริเริ่ม และด้านการโน้มน้าวจิตใจ ตามลำดับ 2) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการประสานงานด้านการมีความคิดริเริ่ม ด้านการเข้าสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.992 (R = 0.992) ซึ่งตัวแปรทั้งสี่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้ร้อยละ 98.4 (R^2 = 0.984) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 0.052 + 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 295 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการเข้าสังคม ด้านการประสานงาน ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการมีความคิดริเริ่ม และด้านการโน้มน้าวจิตใจ ตามลำดับ 2) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการประสานงานด้านการมีความคิดริเริ่ม ด้านการเข้าสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.992 (R = 0.992) ซึ่งตัวแปรทั้งสี่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้ร้อยละ 98.4 (R^2 = 0.984) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 0.052 + 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984)
The objectives of this research were: 1) to study the Leadership of school administrators under the Pathum Thani primary educational service area office 2, 2) to study the committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2 and, 3) to study the school administrators’ leadership affecting the committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2. A sample was collected from 295 informants from 59 schools including director, the committee of fundamental education and teachers. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regressions. The results of the research ware as follows: 1) The leadership of school administrators under the Pathum Thani primary educational service area office 2 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that respect, assistance, socializing, co-ordination, knowing improve, initiatives and mental persuasion respectively. 2) The committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that participation in evaluation, participation in decision making, participation in benefits and participation in operations respectively. 3) The administrators leadership affecting the committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2 was statistically significant at the 0.01 level. The most significant level was on knowing improve, co-ordination, initiatives, socializing was statistically significant at the 0.01 level and multiple correlation coefficient at 0.992 (R = 0.992) which can explain the variance of the school administrators’ leadership under the Pathum Thani primary educational service area office 2 at 98.4% (R^2 = 0.984). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y= 0.052 + 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984) The predicting equation of standard score (Zy) Zy= 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984)