Search results

5 results in 0.06s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
The objectives of this thesis were 1) to study the Buddhism-based leadership of administrators of the General Education Section Phrapariyattidhamma School in Kalasin province, 2) to compare the General Buddhism-based leadership of administrators of the school in mention, classified by gender, position, and work experiences and 3) to explore the suggestions and the leadership development guidelines for the administrators of the so-said schools in Kalasin province. The samples used in this research were 132 administrators and teachers of the schools as mentioned, together with 10 interviews. The tools used for data collection were a 5-rating scale questionnaire with content validity between 0.67-1.00 , and reliability at 0.94, and a semi-structured interviews. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. Statistics used to test the hypothesis were t-tests and One Way ANOVA using F-test statistics. The results found can be summarized as follows: 1) The Buddhism-Based Leadership of Administrators of the Education Section Section Phrapariyattidham School in Kalasin Province was in an overall dimension found to be at a high level. In terms of individual aspects as sorted from the highest to the lowest average, it was found that human relationship (Nissayasampanno) stood on top of the scale, followed by vision (Cakkhuma)), with the clearly fixed management goal (Vidhuro) being at the bottom. 2) The comparison of opinions about the Buddhism-based leadership of the administrators in the so-said schools, classified by gender, position and job experiences, was found that the comparison in terms of sex showed a statistically significant difference at the 0.5 level, while the comparison classified by position and work experiences displayed no statistically significant difference. 3) The suggestions as suggested by the respondents were as follows: 1) The administers should organize training plans or projects to implant discipline, morality, and ethics into students’ hearts so as to correct undesirable behaviors. 2) The strategies, missions and target should be established and brought into practiced effectively and efficiently. 3) The administrators were advised to realize the problems lying in the ways to achievement as well as their solutions. 4) The measures to encourage, promote and reward the saff members should be set up appropriately. 4) The leadership development guidelines as recommended by constructed interviews comprised:1) For vision (Jakkhuma), there should be a policy to encourage the staff members to work with dedication. 2) Regarding administrative technics (Vidhuro), the management goal should be mutually set up, and any plan for school administration should be relied on sufficient and reliable information. 3) As for human relationship (Nissayasampanno), information and communication technology should be implemented in order to achieve goals as set.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 340 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 680 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.8 – 1.0 มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.36 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (PATH) หรือ SEM (A STRUCTURAL EQUATION MODEL) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ตัวแปรจำนวน 71 ตัวแปร และผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดอยู่ในระดับมาก จึงมีความเหมาะสมในการคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2. ผลการศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (χ 2) = 11.63, df = 22, P-value = 0.97, χ 2/df = 0.53, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, CFI = 1.00, RMR = 0.00 และค่า RMSEA = 0.00 แสดงได้ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 340 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 680 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.8 – 1.0 มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.36 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (PATH) หรือ SEM (A STRUCTURAL EQUATION MODEL) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ตัวแปรจำนวน 71 ตัวแปร และผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดอยู่ในระดับมาก จึงมีความเหมาะสมในการคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2. ผลการศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (χ 2) = 11.63, df = 22, P-value = 0.97, χ 2/df = 0.53, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, CFI = 1.00, RMR = 0.00 และค่า RMSEA = 0.00 แสดงได้ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.
ผลการศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย ดังนี้คือ ปัจจัยแรงจูงใจ มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ (มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และปัจจัยอัตมโนทัศน์ มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อมเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย คือ ปัจจัยแรงจูงใจ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีโดยมีตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.09 อย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และมิอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีโดยมีตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยอัตมโนทัศน์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.06 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม พบว่า ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่มี อิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมี โดยเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหา น้อยดังนี้ ปัจจัยแรงจูงใจมีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และปัจจัยอัตตมโนทัศน์ (Self-concept) มีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.18 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีสัดส่วนความเชื่อถือได้ในตัวแปรภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีที่ อธิบายได้ด้วยปัจจัยเชิงสาเหตุได้ร้อยละ 77 4. ผลศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 รูป/คน พบว่า โมเดลสามารถนำไปสู่การปฏิบัติและปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานโรงเรียนให้ได้มาตรฐานต่อไป
The objectives of this research were: 1) To study the level and suitability of the variables structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department, 2) To study harmony structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department by the researcher consistent with empirical data with criterion, 3) To study the magnitude, direct and indirect influences and the total influence of causal factors on charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department and, 4) to study suggestions for development guidance of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed. The study was a mixed research methodology. The simple was collected from 340 samples consisting of Phrapariyattidhamma schools, vice-directors, and teachers in 680 private Special Education Schools, The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires, and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.8-1.0 discriminatory power equal to 0.36-0.86 with reliability at 0.97. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis and confirmation composition analysis (CFA) and influence path analysis A Structural Equation Model (SEM) using. The results of the study were as follows: 1. The study level and suitability of the variables structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department was found 71 variables of faith leadership, charisma and pass the mean of skew values, the kudges are at a high level. Therefore, appropriate selection is defined in the structural relationship model. 2. The reason of study harmony structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department by the researcher consistent with empirical data with criterion as follows : Chi-square (χ2) = 11.63, degrees of freedom (df) = 22, statistical significance (P-value) = 0.97, proportion value (χ2/df) = 0.53, goodness of fit index (GFI) = 1.00, adjusted goodness of fit index (AGFI) = 1.00, comparative fit index (CFI) = 1.00, root mean square residual (RMR) = 0.00, and root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.00, there was no statistical significance and the model is consistent with the empirical data based on the assumptions made. 3. To study the magnitude, direct and indirect influences and the total influence of causal factors on charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed as follows : The motivation for direct magnitude of 0.42 was statistically significant at 0.01 level, the creative for direct magnitude of 0.41 was statistically significant at 0.01 level and the self-concept for direct magnitude of 0.12 was statistically significant at 0.01 level. The indirect influences by the average from high to low that the motivation was influence of causal factors on charismatic leadership to variable passed creative factor has a coefficient of influence equal to 0.09 was statistically significant at 0.05 level, and the indirect influences of causal factors on charismatic leadership to variable passed by self-concept has a coefficient of influence equal to 0.06. was statistically significant at 0.05 level. The proportion in reliability coefficient of causal factor could explain the charismatic leadership for approximate 77% 4. To study the suggestions for development guidance of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed. The verify results from 17 experts as follows : models can lead to practice and continue to improve the quality of school administration.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559