Search results

7 results in 0.04s

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ก่อร่างสร้างวัด จัดการบวชเรียน
  • ตรวจตราผลลัพธ์ บวชพระให้ถึงธรรม?
  • เจาะลึกกรณีศึกษา : ไตรสิกขาเปลี่ยนชีวิต
  • เปิดหลักสูตร : เรียนรู้อย่างบูรณาการ รอบด้าน ทุกมิติ
  • กระบวนการเรียนการสอนจากห้องเรียน สู่สังฆะ
  • ถอดบทเรียนรู้ : ปัจจัยสู่การบวชพระให้ถึงธรรม
  • บทสรุป : เก็บบทเรียน เป็นเทียนนำทาง
หนังสือ

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ความเป็นมา ก่อนจะคิดทิศทางใหม่
  • ทุนรากฐานเพื่อการต่อยอดธรรม
  • สำรวจบทเรียนเก่า ก่อนก้าวใหม่
  • การบริหารเส้นทางธรรมของ ศพอ. วัดนายโรง
  • จุดอ่อน จุดแข็ง แห่งการก้าวต่อ
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2551
ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
The objectives of this dissertation are; 1) to study the concepts and theories about responsibility and duty, 2) to study the duty responsibility through the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka, 3) to strengthen the responsibility in the way of the Bodhisattva as depicted in the Mahānipāta Jātaka, and 4) to present guidelines for building a body of knowledge about “A Guideline Responsibility Enhancement According to the way of life of Bodhisattvas as Depicted in MahānipātaJātaka”. This research is a documentary qualitative research by which all data were collected from the Tipitaka, Commentaries and in-depth interviews with 15 key informants. The results showed that: The concepts and theories concerning responsibility are theory of social psychology and social conditioning with a focus on doing good to society. Theory of pyramid helps to create social responsibility, mirror’s theory helps to understand oneself and behave with others appropriately, game theory helps to understand social responsibility as a role-player, and the idea of action decisions that gives a good picture of the responsibility of duty as a person in society. Concepts and theories about accountability are therefore something that must be studied, trained, practiced, and recognized in order that everyone will obtain co-benefits from duty responsibilities. Responsibilities and duties of the Bodhisattvas that appear in the 10 Mahānipāta Jātakas, namely Temiya, Mahajanaka, Suvannasama, Nemiraja, Mahosatha, Bhuridatta, Chandakumara, Naradabrahma, Vidhurapandita, and Vessantara. They took responsibilities and duties based on the ten perfections. They are Nekkhamma, Viriya, Metta, Adhitthana, Panna, Sila, Khanti, Upekkha, Sacca, and Dhana. The results of responsibility lead to development of wisdom and the fulfillment of vows of the Bodhisattvas. Guidelines for enhancing responsibility and duties according to the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka can be identified in 7 items; responsibility towards one's own role, towards family, towards colleagues, towards teachers, towards the country, towards Buddhism, and towards those who need help. All responsibilities can be done by a sense of responsibility to perform duties, creating self-discipline, maintaining and developing standards of responsibility quality, working with a systematic understanding, and respecting the rights of others for the prosperity of humanity and society, using perfections as a condition for responsibility, doing benefits to society without boundaries and being happy in all activities. The knowledge from the research can be synthesized into the BODHI Model.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 113 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ลักษณะแบบประเมินค่า (rating scale) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า: 1) ระดับการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 5 ให้ความเคารพต่อเพศสตรี รองลงมาคือ ด้านที่ 4 ความเคารพ นับถือผู้บังคับบัญชา และด้านที่ 1 หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านที่ 5 การพัฒนาบุคลากร และด้านที่ 2 การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับสูงมาก (r=.853**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 113 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ลักษณะแบบประเมินค่า (rating scale) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า: 1) ระดับการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 5 ให้ความเคารพต่อเพศสตรี รองลงมาคือ ด้านที่ 4 ความเคารพ นับถือผู้บังคับบัญชา และด้านที่ 1 หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านที่ 5 การพัฒนาบุคลากร และด้านที่ 2 การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับสูงมาก (r=.853**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The objectives of this thesis were as follows 1)to study the application Aparihaniya Dhamma of school administrators. 2) to study the personal administration of school administrators. and 3)to study the correlation with the application Aparihaniya Dhamma of school administrators on personal administration. The simples persons were teachers under Muang Pakphanang municipality, Pakphanang district Nakhonsithammarat province academic year 2021, the samples were about 113 persons, the instrument for data collection was questionnaire closed ended questions five rating sc, data analysis by package computer program, the statistics were applied as follow ; Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Rating scale and Pearson’s Correlation Coefficients. The results of research were found that: 1) The application Aparihaniya Dhamma of school administrators under Muang Pakphanang municipality, Pakphanang district Nakhonsithammarat province by overview was the most level for all aspects when considered in each aspect found that the aspect of respect on women was the highest mean and follow up the aspect of respect directors and the aspect of holding regular and frequent meeting was the lowest mean. 2)The personal administration of school administrators under Muang Pakphanang municipality, Pakphanang district Nakhonsithammarat province by overview was at more level for all aspects when considered in each found that the aspect of conducting performance management was the highest mean and follow up the aspect of human resource development and the aspect of recruitment and appointment was the lowest mean. 3)The correlation with the application Aparihaniya Dhamma of school administrators on personal administration according to opinions of teachers under Muang Pakphanang municipality, Pakphanang district Nakhonsithammarat province was found to be as much high as r =.853** and maintained the statistical significance of .01