15330nam a22002417a#450000100060000000700030000600800410000908200300005010000480008024503230012824600830045126001210053430000710065552076270072652035520835352029701190565000531487569000561492885000081498485600731499294200091506599800141507437105tz230201t2565 th ||||| |||| 00| 0 tha d aดฎ 294.307bพ179ร aพชร พรรธนประเทศ aโรงเรียนวิถีพุทธที่มีผลปฏิบัติงานเป็นต้นแบบ : การศึกษาทฤษฎีฐานราก =bBuddhist Oriented School with Performance as a Model : A Grounded Theory Study /cพชร พรรธนประเทศ aBuddhist Oriented School with Performance as a Model : A Grounded Theory Study aนครปฐม :bมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,c2565 aฐ, 161 หน้า :bภาพประกอบ ;c30 ซม. aการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ดัง เพื่อศึกษาปรากฎการณ์หลักของโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีของโรงเรียนธรรมวิถี จากมุมมองของคนที่อยู่ในปรากฏการณ์ว่ามีลักษณะอย่างไร มีสาเหตุหรือมีปัจจัยจากอะไร เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ ที่โรงเรียนธรรมวิถี ได้นำมาใช้จนเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีได้ว่ามียุทธศาสตร์อะไรบ้าง โดยมีเงื่อนไขเชิงบริบทเฉพาะ และเงื่อนไขสอดแทรกทั่วไป ที่มีผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์เหล่านั้น เพื่อศึกษาผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากการใช้ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนธรรมวิถีได้เลือกนำมาใช้จนทำให้เป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดี ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีหลายประเด็น ได้แก่ แนวทางการเริ่มต้นโรงเรียนวิถีพุทธ ทราบสาเหตุหรือมีปัจจัยสภาพปัญหาของสังคมเด็กขาดเรียน ปัญหาเด็กที่มาเรียนแต่ไม่ยอมเข้าแถว ปัญหาเด็กไม่ค่อยฟังพ่อแม่ ปัญหาของเด็กในสภาพลูกเทวดา ปัญหาที่เด็กชอบแข่งจักรยานยนต์ หนีเที่ยวไม่ยอมเข้าเรียน โรงเรียนพยายามสร้างความตระหนักให้กับคุณครู ต่อสภาพปัญหาเหล่านี้เด็กของเราจะสามารถอยู่ได้ในสังคมหรือไม่ ในเมื่อเราเป็นคุณครูจุดประสงค์หลักของเราก็คือต้องหาวิธีการที่จะสร้างความมีคุณธรรมจริยธรรมติดตัวนักเรียนออกไปสู่สังคมเพราะตัวนักเรียนคือผลิตผลของหน่วยงานเราหรือของโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนได้นำมาใช้ดำเนินการในเรื่องนี้ปรับได้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน สำหรับแนวคิดเบื้องต้น ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ด้านกายภาพ โรงเรียนจะจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา ได้แก่ มีศาลาพระพุทธรูป เด่นเหมาะสม ที่จะชวนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยอยู่เสมอ มีมุมหรือห้องให้ศึกษาพุทธธรรม บริหารจิต เจริญภาวนาเหมาะสมหรือมากพอที่จะบริการผู้เรียน หรือการตกแต่งบริเวณให้เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีใจสงบ และส่งเสริมปัญญา ได้แก่ ร่มรื่น มีป้ายนิเทศ ป้ายคุณธรรม ดูแลเสียงต่าง ๆ ไม่ให้อึกทึก ถ้าเปิดเพลงกระจายเสียงก็พิถีพิถันเลือกเพลงที่ส่งเสริมสมาธิ ประเทืองปัญญา เป็นต้น 2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต สถานศึกษาจัดกิจกรรมวิถีชีวิต ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือในโอกาสต่าง ๆ เป็นภาพรวมทั้งสถานศึกษา ที่เป็นการปฏิบัติบูรณาการทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา โดยเน้นการมีวิถีชีวิต หรือวัฒนธรรมของการกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นไปตามคุณค่าแท้ของการดำเนินชีวิต 3. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศของการใฝ่เรียนรู้ และพัฒนาไตรสิกขา หรือส่งเสริมการมีวัฒนธรรม แสวงปัญญา และมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน มีบรรยากาศของการเคารพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีความเมตตากรุณาต่อกัน ทั้งครูต่อนักเรียน นักเรียนต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อครูด้วยกัน และโรงเรียนส่งเสริมให้บุคลากร และนักเรียนปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เช่น การลด ละ เลิกอบายมุขการเสียสละ เป็นต้น 4.  a ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยบุคลากรในสถานศึกษา ร่วมกับผู้ปกครอง และชุมชน สร้างความตระหนักและศรัทธา รวมทั้งเสริมสร้างปัญญาเข้าใจในหลักการและวิธีดำเนินการโรงเรียนวิถีพุทธร่วมกัน ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพยายามสนับสนุน และการปฏิบัติตนเอง ที่จะสนับสนุนและเป็นตัวอย่างในการพัฒนาผู้เรียน ตามวิถีชาวพุทธ สถานศึกษาวิเคราะห์จัดจุดเน้น หรือรูปแบบรายละเอียดโรงเรียนวิถีพุทธ ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนวิถีพุทธได้ปรับใช้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะให้นักเรียนเป็นคนดีในสังคม หลังจากจบจากโรงเรียนไป ผลพลอยได้ทำให้บุคลากร ครู ผู้บริหารมีหลักธรรมและนำวิถีพุทธ/วิถีธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันและงานที่รับผิดชอบ ส่วนนักเรียนเป็นผู้มีความอ่อนน้อม แยกความดีความชั่วอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักเสียสละ มีน้ำใจช่วยเหลือตนเองและส่วนรวม สังคมและโรงเรียนที่เราอาศัยอยู่จะได้มีการพัฒนาทั้งระบบ ครอบครัว ชุมชน สังคมขนาดใหญ่ ผลสืบเนื่องที่เกิดจากการใช้ยุทธศาสตร์โรงเรียนวิถีพุทธเกี่ยวกับด้านโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีคุณภาพและมาตรฐาน ความภาคภูมิใจในงาน และการยอมรับจากภายนอกและด้านชุมชน ได้แก่ การขยายจิตสํานึกโรงเรียนวิถีพุทธ aThe objectives of this research were as follows: to study the main phenomenon of the Buddhist school as a good example of the Dhammawithi School from the point of view of the person in the phenomenon, what does it look like? What are the causes or what are the factors, to study strategies Dhammavithi School has been using to be a good example of Buddhist school as well as specific contextual conditions and general interpolation conditions that affect the choice of those strategies, and to study the sequel resulting of applying strategies that Dhammavithi School has chosen. The results showed that Characteristics of being a good model of Buddhist school include many issues, for example, the way to start a Buddhist school, acknowledging the cause or factors of the problematic conditions of the present society. School is trying to raise awareness among teachers about problems of students and students will be able to survive or not. Being a teacher, the core job is to build moral ethics within the students because they are future of our society. The strategies adopted by the school in this regard can be adapted according to the guidelines of the Four Principles of Wisdom as follows: 1. Physical: the school will arrange buildings, premises, environments, classrooms, and learning centers that promote the development of morality, concentration and wisdom, such as having a pavilion of outstanding Buddha images that will always remind students of the Triple Gem. There is a corner or room for studying the Buddha Dharma, mental management, and meditation appropriate or enough to serve the learners. or decorate the area to be natural or close to nature. 2. Basic activities of life style: educational institutions organize daily or weekly lifestyle activities on various occasions. It is an integrated practice of morality, concentration, and wisdom, emphasizing on the way of life. 3. Atmosphere and interaction: educational institutions promote an atmosphere of learning and develop the triad or promote cultural, intellectual pursuit and friendly interactions. There is an atmosphere of respect and humility. 4. School management: educational personnel together with parents and the community raise awareness and faith as well as enhance wisdom and understand principles and methods of administrating Buddhist schools together. The terms affecting the choice of those strategies adapting the Four Principles of Wisdom enhance learners’ development along with Trisikha. Students tend to be a good citizen and behave well after graduating from school. All educational personnel should apply the principle in their daily life as well. This will create affect the school and society. Consequences arising from the implementation of the Buddhist school strategy concerning schools are: schools have quality and standards. pride in work and acceptance from outside and from the community, such as expanding awareness of Buddhist schools aโรงเรียนวิถีพุทธ aการบริหารการศึกษา aMBU uhttp://opac.mbu.ac.th/MyResearch/pfile/2372/12063.pdfzDownload file aCL17 anarongrit