06247nam a22002297a#450000100060000000700030000600800410000908200280005010000420007824501700012024600410029026001210033130000400045252039450049252013820443765000350581969000590585485000080591385600730592194200090599499800140600336701tz220822t2565 th ||||| |||| 00| 0 tha d aวท 340.1bอ252น aอภิโชค เกิดผล aนิติปรัชญาในตติยปาราชิกกัณฑ์ =bPhilosophy of Law in Tatiya Parajika /cอภิโชค เกิดผล aPhilosophy of Law in Tatiya Parajika aนครปฐม :bมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,c2565 aฌ, 173 หน้า ;c30 ซม. aวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษานิติปรัชญาเกี่ยวกับการทำลายชีวิตมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาตติยปาราชิกกัณฑ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์นิติปรัชญาในตติยปาราชิกกัณฑ์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) นิติปรัชญาว่าด้วยการทำลายชีวิตมนุษย์ในแง่มุมอภิปรัชญานั้นประกอบไปด้วยทั้งมโนทัศน์ตามแนวนิติธรรมชาตินิยมและปฏิฐานนิยม เช่นเดียวกันกับในแง่มุมของจริยศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยมโนทัศน์ตามแนวทางจริยศาสตร์แบบอันตวิทยาและกรณียธรรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปในทางที่เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ตติยปาราชิกกัณฑ์รวมทั้งพระวินัยทั้งหมดมีคุณสมบัติเป็นชุดปทัสถาน โดยตติยปาราชิกกัณฑ์นั้นเป็นระบบของการวินิจฉัยความประพฤติที่สมบูรณ์ในตัวดังที่พบเจอในระบบวินิจฉัยของกฎหมาย ดังนั้นแม้ว่าตติยปาราชิกกัณฑ์จะเป็นส่วนหนึ่งของตัวบททางศาสนาซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นตัวบทเรื่องเล่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีธรรมชาติเป็นตัวบททางกฎหมายด้วยเช่นกัน 3) มีมโนทัศน์ในทางนิติปรัชญาที่คล้ายคลึงกันระหว่างตติยปาราชิกกัณฑ์และกฎหมายที่บังคับใช้จริง ดังนั้นแล้วทั้งกฎหมายว่าด้วยการห้ามฆ่ามนุษย์และตติยปาราชิกกัณฑ์จึงมีข้อความคิดที่ใกล้เคียงกันมากไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมอภิปรัชญา แง่มุมจริยศาสตร์ แนวคิดเรื่องมนุษยนิยม เป็นต้น การศึกษายังพบอีกว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างระบบกฎหมายและพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่ยินยอมให้มีการฆ่าบางแบบได้โดยชอบด้วยกฎหมาย aThe objectives of this thesis were: 1) to study philosophy of law about destruction of human life, 2) to study Tatiya Parajika, and 3) to analyze philosophy of law in Tatiya Parajika. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, and related documents and then analyzed and summarized into the findings. The results of the study were found that: 1) Philosophy of law about destruction of human life, in the metaphysical aspect, is comprised of both legal naturalism concept and legal positivism concept and also comprised of both teleological concept and deontological concept in ethical aspect, in the most useful way. 2) Tatiya Parajika together with the whole Vinaya Pitaka has quality of norm. Tatiya Parajika is a complete diagnostic conduct system which can be found in legal diagnostic system. Although Tatiya Parajika is a part of religious text, which is narrative in general, but it also has a legal textual nature. 3) There are similar concepts in philosophy of law similar to Tatiya Parajika and positive law. So, the laws about destruction of human life and Tatiya Parajika share very close idea to each other in metaphysical aspect, ethical aspect, humanism idea etc. The study also found that there is no any conflict between legal system and Buddhism on the consent of some types of killing by law. aนิติปรัชญา aพุทธศาสนาและปรัชญา aMBU uhttp://opac.mbu.ac.th/MyResearch/pfile/2343/11885.pdfzDownload file aCL18 anarongrit