17063nam a22002537a#450000100060000000700030000600800410000908200300005010000720008024505230015224601290067526001210080430000880092552078250101352035000883852042261233865000681656465000411663269000321667385000081670585600731671394200091678699800141679536544tz220616t2565 th ||||| |||| 00| 0 tha d aวท 294.317bท379ค aพระท้าย ฐิติมโน (จั่งยัง) aความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี =bExpectations of Government Policy on Buddhist Propagation in Secondary School in Si Maha Phot District, Prachinburi Province /cพระท้าย ฐิติมโน (จั่งยัง) aExpectations of Government Policy on Buddhist Propagation in Secondary School in Si Maha Phot District, Prachinburi Province aนครปฐม :bมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,c2565 aฑ, 179 หน้า :bภาพประกอบ, ตาราง ;c30 ซม. aวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ที่มีเพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี จากจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทั้ง 11 โรงเรียน ได้จำนวนประชากรทั้งหมด 4,698 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่า t – test (Independent Deviation) เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรอิสระที่มีจำนวนสองกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 6 คน ได้แก่ ตัวแทนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi – structure Interview) และโทรศัพท์มือถือ (mobile phone) เพื่อใช้บันทึกภาพ และเสียงระหว่างสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งห้าด้าน 2) ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอ ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ด้านคุณสมบัติของผู้สอน ปัญหา : พระสอนศีลธรรมพูดตรงเกินไปเวลาสอน ไม่ค่อยระมัดระวังคำพูด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และมักแอบสูบบุหรี่ในสถานศึกษา ข้อเสนอแนะ : ควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน และไม่ยุ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด (2) ด้านความสามารถในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมไม่สามารถกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ a ยังใช้หลักสูตรของเดิมที่ไม่มีการพัฒนาให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน ข้อเสนอแนะ : ควรพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน (3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมยังขาดความรู้ ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสอน หรือใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการอธิบายเนื้อหาวิชาที่สอน ข้อเสนอแนะ : ควรมีการศึกษา และทำความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการอธิบายเนื้อหาวิชาที่สอน (4) ด้านทุนทรัพย์ในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมต้องทำรายงานการสอนในแต่ละเดือนจึงจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งบางครั้งต้องรอการอนุมัติเป็นรอบไตรมาส หรือเป็นรอบปีการศึกษา ซึ่งทำให้ไม่มีทุนทรัพย์ที่จะใช้ในการผลิตสื่อการสอนในระหว่างปีการศึกษา ข้อเสนอแนะ : สถาบันการศึกษาควรให้การสนับสนุนทุนทรัพย์บางส่วนเพื่อใช้ในการผลิตสื่ออุปกรณ์การสอนสำหรับเสริมทักษะการเรียนรู้ในแต่ละภาคการศึกษาของผู้เรียน และ (5) ด้านประโยชน์ที่ได้รับในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมขาดทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และไม่มีเทคนิคการสอนแบบหลากหลาย เนื้อหาในการเรียนมีมากไม่สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ทำการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะ : ควรเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการนำพาผู้เรียนปฏิบัติจริง เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดสติ รู้จักควบคุมอารมณ์ และจิตใจของตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน aThe objectives of this mixed method thesis are as follows: 1) to study the expectations of the state policy in Buddhist propagation among secondary school students in Si Maha Phot district of Prachinburi province, 2) to compare the expectations of the state policy of Buddhist propagation of secondary school students in Si Maha Phot district of Prachinburi province with different genders, ages, education level, residences and incomes, and 3) to suggest the development of state policies for Buddhist propagation in Si Maha Phot District of Prachinburi Province. The population and samples used in the research were secondary school students in 11 secondary schools in Si Maha Phot district of Prachinburi province. The total populations were 4,698, and the sample size obtained by using the formula of "Taro Yamane" was 400 people. The research instrument is a five – level estimation scale query. The total reliability value is 0.94. The statistics used in the data analysis are frequency, percentage, mean, and standard deviation, and test statistics, namely independent deviation, to test the differences of two groups of independent variables using a ready – made program. The qualitative data were collected by in – depth interviews with 6 key – Informants, selected by a purposive selection, including representatives of secondary school students in Si Maha Phot district, Prachinburi province. The instruments used in the interview were semi – structured interviews and mobile phones to record images and sounds during interviews. The results showed that: 1) expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha phot high schools in Prachinburi province were at a high level overall and in aspects. 2) The results of the hypothetical research test showed that people of different genders had different expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha Phot high schools of Prachinburi province with statistically significant figure at the 0.05 level, which was intertwined with the hypothesis. People of different ages, education levels, residences and incomes had expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha Phot high schools in Prachinburi province as a whole indifferently, which was irrelevant to the hypothesis. 3) The recommendations for development that obtained from the study include: (1) In qualifications of instructors, the problems are teacher – monks speak too direct when teaching, rarely careful with words, express aggressive behavior, lack of maturity to control their emotions, and often smoke in schools. The suggestion is to behave as a role model for youths and not being involved in any kind of addiction. (2) In missionary Ability, the problems are teacher – monks cannot define the curriculum structure in accordance with the goal of student – center – learning, and they use the curriculum that has not been developed to match the modern day. The suggestion is that the teaching process should be developed according to the curriculum structure that has been modernized to the current situation. (3) In the field of propagation materials, the problems are teacher – monks lack knowledge, and ability to apply technological media used in teaching or as an accessory for describing the contents of the subjects taught. The suggestion is that they should be educated and trained in the use of technology as an accessory for describing the subject contents taught. (4) Missionary Funding, the problems are teacher – monks must report their teaching loads each month to receive state support, which sometimes requires approval around quarters or around the academic year, and it causes the shortage of funding to be used to produce teaching materials during the academic year. (5) Benefits of missionary, the problems are teacher – monks lack knowledge transfer skills and do not have a wide range of teaching techniques. The contents of the study are very inconsistent with the time it takes to do the instruction. The suggestion is to focus on learning along with practicality of the learners to help make sure that the learners are conscious and to control their emotions and mind in their daily lives. aการเผยแผ่พระพุทธศาสนา aนโยบายของรัฐ aการปกครอง aMBU uhttp://opac.mbu.ac.th/MyResearch/pfile/2338/11865.pdfzDownload file aCL18 anarongrit