10116nam a22002297a#450000100060000000700030000600800410000908200280005010000510007824504350012924601170056426001210068130000770080252064710087952022960735065000800964669000560972685000080978285600730979094200090986399800140987233982tz191218t2560 th ||||| |||| 00| 0 tha d aสร 371.7bส943ก aเสาวภา เพริศแก้ว aการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด =bOPERATIONS OF STUDENT CARE AND ASSISTANCE SYSTEMS AT SCHOOLS UNDER ROI ET PROVINCIAL ADMINISTRATION ORGANIZATION /cเสาวภา เพริศแก้ว aOPERATIONS OF STUDENT CARE AND ASSISTANCE SYSTEMS AT SCHOOLS UNDER ROI ET PROVINCIAL ADMINISTRATION ORGANIZATION aนครปฐม :bมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,c2560 aฌ, 125 หน้า :bตารางประกอบ ;c30 ซม. aสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า จำนวน 40 ข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งต่อ และด้านการคัดกรอง 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ 2.1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สถานศึกษาควรร่วมมือกับผู้ปกครองในการวางแผน กำกับ ติดตามนักเรียน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อบันทึกการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา เช่น แบบประเมินพฤติกรรม ทะเบียนประวัติ แบบบันทึกเยี่ยมบ้าน แบบรายงานผลการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและควรจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างจริงจังต่อเนื่อง ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณในการเยี่ยมบ้านให้เพียงพอ 2.2) ด้านการคัดกรองนักเรียน สถานศึกษาควรจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูในการคัดกรองนักเรียนมีการประชุมเพื่อจัดทำเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนโดยใช้เครื่องมือเชิงประจักษ์และสรุปรายงานการคัดกรองตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2.3) ด้านการส่งเสริมนักเรียน สถานศึกษาควรจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับชั้นและให้มีการประชุมเครือข่ายเพื่อร่วมมือกันในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2.4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลายตามความสนใจของนักเรียนและสอดคล้องกับทักษะความสามารถ ความถนัดของนักเรียน เพื่อเป็นการป้องกันการใช้เวลาว่างไปทำกิจกรรมไม่พึงประสงค์ และ 2.5) ด้านการส่งต่อ สถานศึกษาควรทำข้อตกลงกับหน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของนักเรียน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและสะดวกในการติดต่อประสานงานการส่งต่อนักเรียนไปรับการช่วยเหลือ aThe paper served the purposes to study: 1) operations of student care and assistance systems in Roi Et Provincial Administration Organization’s schools, 2) suggestions for enhancing operations of their student care and assistance systems in its schools. The target groups were school administrators and teaching-tasked teachers in its schools, tallying 74 in number. The instrument for data collection was the rating questionnaire containing forty questions, and the reliability of the whole questions amounting to 0.97. The statistics utilized for data analyses embraced percentage, mean and standard deviation by making use of the computer software package. Results of the research findings : 1) Operations of student care and assistance systems in its schools have been rated ‘high’ in the overall aspect, as has one single aspect taken into consideration. Each of aspects ranked in their descending order of means includes: support of students, problem prevention and solving, intimacy, referral, and screening procedures. 2) Suggestions for enhancing operations of assistance systems in its schools are that schools should : 2.1) cooperate with student guardians for planning, directing and keeping watching students in need by using such numerous tools to record their behavioral observations both inside and outside schools as SDQ, bio-data registration, a home visit form, a report form on intimacy, drawing up actual, successive a home visit scheme including the support of the sufficient budget, 2.2) organize training courses on screening procedures, holding meetings to look for criteria for screening students by using empirical tools and summing up reports on screening them following the established criteria, 2,3) set up student guardians’ networks to have covered at all levels, holding the meetings to seek for cooperation of assistance systems, 2.4) organize extra curriculum activities of various kinds in line with students’ interests, skills and competency to prevent them from spending their time on doing undesirable activities and, 2.5) make agreements with outsourcers specialized in helping solve students’ problems that will culminate in cooperation, facilitation of contacts and coordination with transferable of students to receive assistance. aระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน aการบริหารการศึกษา aMBU uhttp://opac.mbu.ac.th/MyResearch/pfile/2383/12166.pdfzDownload file aCL20 anarongrit