Search results

1 results in 0.05s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพในการพัฒนาระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม ใน 3 ประเด็น คือ 1) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม 2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติของผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษา และ 3) องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติในลักษณะเป็นทฤษฎีฐานราก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วย 2 วงจร ของการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล วงจรละ 1 ภาคการศึกษา มีผู้บริหาร และครูเป็นผู้ร่วมการวิจัย 20 คน ผู้วิจัย 1 คน รวมเป็นจำนวน 21 คน ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการพัฒนาระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม ต่างมีค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินหลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และวงจรที่ 2 สูงขึ้นกว่าก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประเด็น คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการทำงาน ความตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา (Lifelong Learners) ความตระหนักถึงความสำคัญของการสะท้อนผลจากการปฏิบัติ ซึ่งแต่เดิมมักปล่อยปละละเลย ความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทัศนะทางทฤษฎีเพื่อเสริมความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม และความตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานอย่างครบวงจรของการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล และ 3) ได้องค์ความรู้จากการปฏิบัติในลักษณะเป็นโมเดลตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์พลังขับของ Kurt Lewin โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง (Expected Change) กับปัจจัยผลักดัน (Force for Change) ที่นำมาใช้ รวมทั้งสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change) และการเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Overcome Obstacles) ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีคำอธิบายตรงตามความคาดหวังของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม เป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการเสริมทักษะการใช้โปรแกรมของระบบอี-ออฟฟิศ เกิดทักษะการเรียนรู้การใช้งานในระบบอี-ออฟฟิศได้เป็นอย่างดี การพัฒนาการเรียนรู้ในการใช้งานระบบอี-ออฟฟิศ ส่งผลให้ ผู้บริหาร ครู และผู้ร่วมวิจัยมีทักษะที่ดีในการใช้งานระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพในการพัฒนาระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม ใน 3 ประเด็น คือ 1) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม 2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติของผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษา และ 3) องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติในลักษณะเป็นทฤษฎีฐานราก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วย 2 วงจร ของการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล วงจรละ 1 ภาคการศึกษา มีผู้บริหาร และครูเป็นผู้ร่วมการวิจัย 20 คน ผู้วิจัย 1 คน รวมเป็นจำนวน 21 คน ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการพัฒนาระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม ต่างมีค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินหลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และวงจรที่ 2 สูงขึ้นกว่าก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประเด็น คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการทำงาน ความตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา (Lifelong Learners) ความตระหนักถึงความสำคัญของการสะท้อนผลจากการปฏิบัติ ซึ่งแต่เดิมมักปล่อยปละละเลย ความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทัศนะทางทฤษฎีเพื่อเสริมความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม และความตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานอย่างครบวงจรของการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล และ 3) ได้องค์ความรู้จากการปฏิบัติในลักษณะเป็นโมเดลตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์พลังขับของ Kurt Lewin โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง (Expected Change) กับปัจจัยผลักดัน (Force for Change) ที่นำมาใช้ รวมทั้งสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change) และการเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Overcome Obstacles) ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีคำอธิบายตรงตามความคาดหวังของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม เป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการเสริมทักษะการใช้โปรแกรมของระบบอี-ออฟฟิศ เกิดทักษะการเรียนรู้การใช้งานในระบบอี-ออฟฟิศได้เป็นอย่างดี การพัฒนาการเรียนรู้ในการใช้งานระบบอี-ออฟฟิศ ส่งผลให้ ผู้บริหาร ครู และผู้ร่วมวิจัยมีทักษะที่ดีในการใช้งานระบบอี-ออฟฟิศ : กรณีของโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The purpose of this research was to study the results of the cooperation to enhance the quality of E-Office system development: the case of Wangmaidang Pittayakhom School E-Office in 3 issues as follows; 1) Changes arising from the development of e-Office systems. 2) Learning from the practice of the researcher, co-researcher, and educational institution. And 3) the body of knowledge that arises from practice as a Grounded Theory. It uses a participatory action research methodology that consists of two cycles of planning, action, observation, and reflection. It is a one-semester cycle, with 20 administrators and teachers as co-researchers, and one researcher, for a total of 21 people. The results of the research showed that; 1) The results of the development of the system “e-Office (e-Office)” Wangmaidang Pittayakhom School e-Office had high averages from the evaluation results after the implementation of Circuit 1, and Circuit 2 more than before practice. 2) Researcher and co-researcher learned from as follows; Awareness of the importance of participating in work. Awareness of the importance of being lifelong learners. An awareness of the importance of Reflecting from Acting, which was originally often neglected. Awareness of the importance of studying theoretical perspectives to complement existing knowledge and experience, and Awareness of the importance of a comprehensive work of Planning, Acting, Observing, and Reflecting. And 3) Gain knowledge from practice as a model based on Kurt Lewin's drive analysis framework, considering Expected Change and Force for Change applied, Including Resistance to Change and Overcome Obstacles, each of which has a description that meets the expectations of Wangmaidang Pittayakhom School e-Office, which is a guideline for developing skills in using e-Office system programs until learning skills. It works well in the system. The development of learning to use the e-Office system results in Administrators, teachers, and co-researchers have good skills in using the e-Office system effectively.