Search results

1 results in 0.07s

หนังสือ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 338 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test หากพบว่าความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison Test) ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านจริยธรรม (Ethics) รองลงมาคือด้านจิตวิญญาณ (Spirituality) ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) และด้านการใฝ่บริการ (Service Mind) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสมรรถนะ (Competency) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตำแหน่งประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน เผยแพร่วิสัยทัศน์ให้บุคลากรและบุคคลภายนอกทราบ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (2) การให้เกียรติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความจริงใจคอยให้ความช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมบริหารกิจกรรมนักเรียน (3) การให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงาน ทุ่มเทเสียสละการทำงานในหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกทางกาย วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ (4) รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการนำองค์กรไปสู่การพัฒนา มีความรอบรู้ รู้กว้าง รู้ไกล ช่างสังเกต รู้จักฟังอยู่เสมอ (5) ผู้บริหารต้องบริหารสถานศึกษาอย่างโปร่งใส ยึดถือคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน วางใจเป็นกลางเพื่อรักษาความยุติธรรม
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 338 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test หากพบว่าความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison Test) ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านจริยธรรม (Ethics) รองลงมาคือด้านจิตวิญญาณ (Spirituality) ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) และด้านการใฝ่บริการ (Service Mind) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสมรรถนะ (Competency) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตำแหน่งประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน เผยแพร่วิสัยทัศน์ให้บุคลากรและบุคคลภายนอกทราบ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (2) การให้เกียรติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความจริงใจคอยให้ความช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมบริหารกิจกรรมนักเรียน (3) การให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงาน ทุ่มเทเสียสละการทำงานในหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกทางกาย วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ (4) รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการนำองค์กรไปสู่การพัฒนา มีความรอบรู้ รู้กว้าง รู้ไกล ช่างสังเกต รู้จักฟังอยู่เสมอ (5) ผู้บริหารต้องบริหารสถานศึกษาอย่างโปร่งใส ยึดถือคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน วางใจเป็นกลางเพื่อรักษาความยุติธรรม
The objectives of the research were 1) to study leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Surin, 2) to compare leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of school administrators classified by positions, education and working experiences and, 3) to find out the guidelines for development leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of the said schools. Samples were the administrators and teachers, totally 338 in number and 10 interviews. The instrument for collecting the data was the questionnaire, with its reliability value at 0.98 and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.) The hypothesis was tested with t-test and One-way ANOVA F-test. The research results were as follows: 1) The leadership based on the seven principles of Kalyanamittadhamma of school administrators under the Secondary Educational Service Office Surin was found, in both overall and individual aspects, to stand at a 'MUCH' level. The leading aspect was that of ethics, followed by spirituality, vision, service mind and competency, respectively. 2) The comparison of the leadership of the school administrator in mention classified by education was found to show no difference in both overall and individual dimensions. The statistically significant difference of .05 was found in the comparison in terms of position and job experiences. 3) The guidelines for developing the leadership as suggested by the responses were (1) The executive vision should be designed clearly, made own to the staff members and could be brought into practice. (2) The honor and merit system together with participatory management should be followed. (3) The administrators should be fair and sincere to colleagues, work hard and faithfully, and be a good example for the staff members to follow suit. (4) The administrators should always keep fresh his competency and knowledge to ensure the progressive development of the school. (5) The principle of transparency, integrity and honesty should be implemented in school management to maintain impartiality.