Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาคีตธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในคีตธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในคีตธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงเอกสาร และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๖ รูป/คน การนำเสนอด้วยวิธีการวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า คีตธรรม เป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ประกอบไปด้วยหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท ทำให้รู้ถึงหลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย และความสำคัญของบทเพลงที่สื่อถึง ฉันทลักษณ์ ภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม หลักธรรมที่ปรากฏในคีตธรรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักศรัทธาในพระรัตนตรัย หลักกรรม คือ ความเชื่อในเหตุและผลของการกระทำ หลักอริยสัจในฐานะที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายแห่งความพ้นทุกข์ คือนิพพาน หลักขันธ์ ๕ และหลักไตรลักษณ์ในฐานะที่ทำให้เห็นความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของมิใช่ตัวตนแห่งขันธ์ คีตธรรมในพระพุทธศาสนาเบื้องต้นทำให้เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย เคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คีตธรรมประเภทนี้แฝงอยู่ในบทสวดมนต์และกวีที่นำไปในสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดความน้อมระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเสมอ สารัตถธรรมที่ปรากฏในบทกวีที่เห็นทั่วไป คือ การยอมรับกฎแห่งกรรม เกี่ยวกับบาป บุญ คุณ โทษ ความสุข ความทุกข์ที่เกิดจากกรรม และเป็นกรอบหล่อหลอมความประพฤติในสังคม คีตธรรมที่สื่อถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำหลักคำสอนที่มีอยู่มาแสดงในรูปของบทกวี ทำให้ผู้อ่านได้คลายทุกข์ เกิดความสุข รู้คุณค่าความเป็นมนุษย์ ทำให้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกันในสังคม สารัตถะในคีตธรรมที่พบยังเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติธรรม ผลของการปฏิบัติธรรมที่จะทำให้พ้นทุกข์ เป็นบทพิจารณาร่างกาย พิจารณาไตรลักษณ์ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาคีตธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในคีตธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในคีตธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงเอกสาร และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๖ รูป/คน การนำเสนอด้วยวิธีการวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า คีตธรรม เป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ประกอบไปด้วยหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท ทำให้รู้ถึงหลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย และความสำคัญของบทเพลงที่สื่อถึง ฉันทลักษณ์ ภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม หลักธรรมที่ปรากฏในคีตธรรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักศรัทธาในพระรัตนตรัย หลักกรรม คือ ความเชื่อในเหตุและผลของการกระทำ หลักอริยสัจในฐานะที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายแห่งความพ้นทุกข์ คือนิพพาน หลักขันธ์ ๕ และหลักไตรลักษณ์ในฐานะที่ทำให้เห็นความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของมิใช่ตัวตนแห่งขันธ์ คีตธรรมในพระพุทธศาสนาเบื้องต้นทำให้เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย เคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คีตธรรมประเภทนี้แฝงอยู่ในบทสวดมนต์และกวีที่นำไปในสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดความน้อมระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเสมอ สารัตถธรรมที่ปรากฏในบทกวีที่เห็นทั่วไป คือ การยอมรับกฎแห่งกรรม เกี่ยวกับบาป บุญ คุณ โทษ ความสุข ความทุกข์ที่เกิดจากกรรม และเป็นกรอบหล่อหลอมความประพฤติในสังคม คีตธรรมที่สื่อถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำหลักคำสอนที่มีอยู่มาแสดงในรูปของบทกวี ทำให้ผู้อ่านได้คลายทุกข์ เกิดความสุข รู้คุณค่าความเป็นมนุษย์ ทำให้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกันในสังคม สารัตถะในคีตธรรมที่พบยังเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติธรรม ผลของการปฏิบัติธรรมที่จะทำให้พ้นทุกข์ เป็นบทพิจารณาร่างกาย พิจารณาไตรลักษณ์ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง
The objectives of this thesis are: 1) to study the Gītadhamma in Theravāda Buddhism; 2) to study the dhamma principles as depicted in the Gītadhamma in Theravāda Buddhism; and 3) to analyze the dhamma principles as depicted in the Gitadhamma in Theravāda Buddhism. This research is a documentary qualitative research in which data were collected from the Tipitaka, Commentaries, relevant documents and in-depth interviews with 6 key-informants. The study results were presented by descriptive analysis method. The results showed that: Gītadhamma is a poem or stanza that reflects a different way of life. It consists of important principles in Buddhism. Its purpose is to provide the right guideline of life and to understand the reality of things. The important poem conveyed prosody, language, traditions and culture. The dhamma principles as depicted in Buddhist Gītadhamma are the confidence in the Triple Gem, Kamma referring to the cause and effect of actions, the Four Noble Truths covering living a life towards the goal of cessation of suffering or Nibbana, the five aggregates and the three common characteristics as showing the state of impermanence, suffering, and non-self of compound things. The Gītadhamma in Buddhism basically leads Buddhists to have faith in the Triple Gem, to respect the Buddha, the Dharma, and the Sangha. These types of Gītadhamma are generally hidden in the prayers and in the poems that are used in different performances for causing reverence to the virtues of the Triple Gem. The essence of Gītadhamma denotes the acceptance of the law of kamma concerning demerit, merit, punishment, happiness, and suffering caused by kamma as the norm of behavior in society. The Gītadhamma conveys the propagation of Buddhism to cause the reader to relieve suffering, to be happy, to know the value of human beings, to give encouragement to living a life and to harmonize in society. Beside that the essence of Gītadhamma is also related to the practice of meditation and its results as the cessation of suffering by considering the body and the three common characteristics that caused boredom to relieve desire and not clinging to everything.