Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย/ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง” โอวาทปาติโมกข์ : การเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิต” มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ ๑. เพื่อศึกษาการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิต ๒. เพื่อศึกษาพระโอวาทปาติโมกข์ในฐานะเป็นการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิต ๓. เพื่อบูรณาการการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิตด้วยหลักพระโอวาทปาติโมกข์ ๔. เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิตด้วยหลักพระโอวาทปาติโมกข์” โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาเอกสาร นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล มีความสมบูรณ์ เราสามารถเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิตการนำแนวทาง ทั้งสองแนวทางมาบูรณาการเข้าด้วยกัน สามารถสรุปได้ด้วยโครงข่ายทั้ง ๖ ด้านที่เป็นระบบโครงข่ายเชื่อมโยงกันและกัน ซึ่งเป็นระบบโครงข่ายที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันไม่สามารถขาดออกจากกันได้ ซึ่งต่อไปนี้ผู้วิจัยจักขอเรียกโครงข่ายระบบการเชื่อมโยงของ ๖ โครงข่ายนี้ว่า ๖ สมังคี ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้ สมังคีที่ ๑). บูรณาการโครงข่ายเศรษฐกิจ เรามีความจำเป็นต้องดำรงชีวิตอยู่บนโลกด้วยฐานด้านเศรษฐกิจ ไม่ควรยึดเศรษฐกิจบนหนทางกิเลส ต้องทำมาหากินสร้างรายได้ เลี้ยงตนเลี้ยงครอบครัวด้วยเศรษฐกิจบนหนทางแห่งปัญญา ดังนั้นการหารายได้จึงต้องเน้นทำงานหาเงินด้วยการไม่ทำบาปทั้งปวง สมังคีที่ ๒) โครงข่ายการสื่อสารโดยเราจักต้องเน้นสื่อสารแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีความชัดเจน จริงใจ ไม่สื่อสารด้วยกล่าวว่าร้ายผู้อื่น โจมตี ต่อว่าผู้อื่น การสื่อสารแบบมีอคติ สมังคีที่ ๓) โครงข่ายด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้ที่ไม่เชื่อมโยงถึงกัน ทุกสรรพชีวิตสัมพันธ์กันเป็นโครงข่าย ดังนั้นเพื่อความสมดุลของชีวิต เราจึงไม่ควรเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ทุกชนิดสมังคีที่ ๔) โครงข่ายด้านสุขภาพมนุษย์เราไม่สามารถขาดซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพทางกาย สุขภาพทางใจได้สุขภาพเชื่อมโยงเป็นโครงข่าย ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสียสมดุล อีกสิ่งหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะดีได้ สมังคีที่ ๕) โครงข่ายด้านการบริหารจัดการ วิธีการบริหารจัดการภายนอกคือต้องให้เวลา ให้ความจริงใจ กับครอบครัวและคนรอบข้างโดยไม่คิดที่จะทำร้ายผู้อื่น ไม่ว่าร้ายกล่าวร้ายผู้อื่น บริหารจัดการภายในคือการรักษาศีล สมังคีที่ ๖) โครงข่ายด้านกรอบความคิดทางจิตวิญญาณ ความเชื่อคือสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขในการแสวงหาตนเอง สามารถแสวงหาความสุขจากจิตใจได้ และเป้าหมายกรอบความคิดทางจิตวิญญาณของเราทุกคนคือ นิพพาน ซึ่งก็คือจุดสูงสุดของความสมดุลของชีวิต
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย/ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง” โอวาทปาติโมกข์ : การเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิต” มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ ๑. เพื่อศึกษาการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิต ๒. เพื่อศึกษาพระโอวาทปาติโมกข์ในฐานะเป็นการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิต ๓. เพื่อบูรณาการการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิตด้วยหลักพระโอวาทปาติโมกข์ ๔. เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิตด้วยหลักพระโอวาทปาติโมกข์” โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาเอกสาร นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล มีความสมบูรณ์ เราสามารถเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิตการนำแนวทาง ทั้งสองแนวทางมาบูรณาการเข้าด้วยกัน สามารถสรุปได้ด้วยโครงข่ายทั้ง ๖ ด้านที่เป็นระบบโครงข่ายเชื่อมโยงกันและกัน ซึ่งเป็นระบบโครงข่ายที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันไม่สามารถขาดออกจากกันได้ ซึ่งต่อไปนี้ผู้วิจัยจักขอเรียกโครงข่ายระบบการเชื่อมโยงของ ๖ โครงข่ายนี้ว่า ๖ สมังคี ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้ สมังคีที่ ๑). บูรณาการโครงข่ายเศรษฐกิจ เรามีความจำเป็นต้องดำรงชีวิตอยู่บนโลกด้วยฐานด้านเศรษฐกิจ ไม่ควรยึดเศรษฐกิจบนหนทางกิเลส ต้องทำมาหากินสร้างรายได้ เลี้ยงตนเลี้ยงครอบครัวด้วยเศรษฐกิจบนหนทางแห่งปัญญา ดังนั้นการหารายได้จึงต้องเน้นทำงานหาเงินด้วยการไม่ทำบาปทั้งปวง สมังคีที่ ๒) โครงข่ายการสื่อสารโดยเราจักต้องเน้นสื่อสารแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีความชัดเจน จริงใจ ไม่สื่อสารด้วยกล่าวว่าร้ายผู้อื่น โจมตี ต่อว่าผู้อื่น การสื่อสารแบบมีอคติ สมังคีที่ ๓) โครงข่ายด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้ที่ไม่เชื่อมโยงถึงกัน ทุกสรรพชีวิตสัมพันธ์กันเป็นโครงข่าย ดังนั้นเพื่อความสมดุลของชีวิต เราจึงไม่ควรเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ทุกชนิดสมังคีที่ ๔) โครงข่ายด้านสุขภาพมนุษย์เราไม่สามารถขาดซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพทางกาย สุขภาพทางใจได้สุขภาพเชื่อมโยงเป็นโครงข่าย ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสียสมดุล อีกสิ่งหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะดีได้ สมังคีที่ ๕) โครงข่ายด้านการบริหารจัดการ วิธีการบริหารจัดการภายนอกคือต้องให้เวลา ให้ความจริงใจ กับครอบครัวและคนรอบข้างโดยไม่คิดที่จะทำร้ายผู้อื่น ไม่ว่าร้ายกล่าวร้ายผู้อื่น บริหารจัดการภายในคือการรักษาศีล สมังคีที่ ๖) โครงข่ายด้านกรอบความคิดทางจิตวิญญาณ ความเชื่อคือสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขในการแสวงหาตนเอง สามารถแสวงหาความสุขจากจิตใจได้ และเป้าหมายกรอบความคิดทางจิตวิญญาณของเราทุกคนคือ นิพพาน ซึ่งก็คือจุดสูงสุดของความสมดุลของชีวิต
This article is a part of the thesis entitled “Ovādapātimokkha : Reinforcement of Life Balance Network” and it has 4 objectives: 1) To study the reinforcement of the life equilibrium network, 2) To study the Ovādapātimokkha as a means of enhancing the life equilibrium network, 3) To integrate the reinforcement of the life equilibrium network with the teaching of the Ovādapātimokkha, and 4) To present the body of knowledge about “Integrated model for enhancing the network of equilibrium of life with the teachings of the Ovādapātimokkha. It is a documentary qualitative research. Its contents were presented by descriptive analysis method. It was found from the study that: To keep life in balance and completeness, we can strengthen the life balance network by integration of both approaches together. The six aspects of the network are interconnected and cannot be separated from each other, Hereinafter, the network of these 6 linkage systems will be named as the 6 Samangis, which have the following topics: Samangi 1) Integration of economic networks; to live on the planet with an economic base, but not rely on it with defilements, it should be relied on the path of wisdom in earning for living a life, not committing all sins. Samangi 2) Communication network; we must focus on communicating only with good conduct in word and avoiding verbal misconduct. Samangi 3) Environmental network; nothing in this world is independent and disconnected. All beings are related to each other in a network. For the balance of life, encroachment of living beings on this planet is not suitable. Samangi 4) Health network; Human beings cannot Samangi 4) Health network; Human beings cannot lack of physical health and mental health. Both are interconnected. Without each one, life will be imbalanced. Samangi 5) The method of external management; time and sincerity must be provided to family and people around. For internal management is to maintain precepts. Samangi 6) The network of spiritual Mindset; Faith can make us happy in our pursuit of ourselves and enable us to seek happiness in our mind. The goal of our spiritual paradigms is nirvana and it is the foremost balance network of life.