Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง แตกต่างกัน และ 3. เพื่อสัมภาษณ์ข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA ) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงบรรยาย ผลของวิจัยพบว่า 1. บุคลากรทางการศึกษาในเขตบางแคที่มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง รองลงมาด้านความภราดรภาพ ด้านสิทธิเสรีภาพ และด้านความเสมอภาค อยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ 2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ต่างกัน มีทัศนคติการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 4 ด้าน ดังนี้ คนทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความภารดรภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการดำรงชีวิตของตนเอง มีสิทธิที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของตนได้ มีสิทธิที่จะออกเสียงในการกระทำต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตนและส่วนรวม ได้อยู่ภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตนและกระทำการต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายกำหนด สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขไม่มีปัญหาขัดแย้งต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง แตกต่างกัน และ 3. เพื่อสัมภาษณ์ข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA ) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงบรรยาย ผลของวิจัยพบว่า 1. บุคลากรทางการศึกษาในเขตบางแคที่มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง รองลงมาด้านความภราดรภาพ ด้านสิทธิเสรีภาพ และด้านความเสมอภาค อยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ 2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ต่างกัน มีทัศนคติการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 4 ด้าน ดังนี้ คนทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความภารดรภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการดำรงชีวิตของตนเอง มีสิทธิที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของตนได้ มีสิทธิที่จะออกเสียงในการกระทำต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตนและส่วนรวม ได้อยู่ภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตนและกระทำการต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายกำหนด สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขไม่มีปัญหาขัดแย้งต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
The objectives of this thesis are as follows: 1.To study the opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok towards democracy, 2. To compare the opinions towards democracy of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok with different gender, age, education level and position, and 3. To collect recommendations and guidelines for promoting democracy according to the opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok. The mixed research methods were used in the study. The sample group used in this research was 288 educational personnel in Bang Khae district of Bangkok. The data were collected by questionnaire and in-depth interviews with 9 key-informants. The statistics used in the data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and value. (T-test), one-way variances test (F-test or One-way ANOVA). If differences were found, test individually by Scheffé method. The interview data were analyzed by content analysis. The research results were found that: 1. The opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok towards democracy in all 4 aspects were at a low level. When considering each aspect, the highest average level was on political participation, followed by fraternity, rights and liberties, and equality respectively. 2. The educational personnel in Bang Khae district of Bangkok with different gender, education level and position had different opinions towards democracy with significantly statistic figure at the 0.05 level. There was no difference in opinion level among those with different age. 3. The results from the in-depth interviews are 4 as follows: Everyone has rights, liberties, equality, fraternity, political participation in their own life. Everyone has the rights to protect oneself from the infringement of others' rights; has the rights to vote in any action for the benefit of oneself and the public; is under the law that protects their rights and can act in accordance with the law, able to live together in society peacefully and happily.