Search results

1 results in 0.04s

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 106 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 มีความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ ซึ่งได้หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้ใช้ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับ มาก พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาทั้งระบบ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการกระจายอำนาจ 2) การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมรายด้านไม่แตกต่างกัน และการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน รายด้านแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมและ ด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 คู่ คือ ผู้ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี กับผู้ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี ส่วนคู่อื่นไม่แตกต่างกันข้อเสนอแนะและแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารตนเอง ด้านการบริการแบบมีส่วนร่วมด้านภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน ด้านการพัฒนาทั้งระบบ และด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ พบว่า ให้มีการสำรวจปริมาณงานและอัตรากำลังในการดำเนินงานเพื่อวางแผนการบริหารงาน ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารโรงเรียนให้เด่นชัดมากกว่านี้ บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาในการมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารให้มากขึ้น
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 106 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 มีความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ ซึ่งได้หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้ใช้ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับ มาก พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาทั้งระบบ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการกระจายอำนาจ 2) การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมรายด้านไม่แตกต่างกัน และการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน รายด้านแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมและ ด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 คู่ คือ ผู้ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี กับผู้ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี ส่วนคู่อื่นไม่แตกต่างกันข้อเสนอแนะและแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารตนเอง ด้านการบริการแบบมีส่วนร่วมด้านภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน ด้านการพัฒนาทั้งระบบ และด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ พบว่า ให้มีการสำรวจปริมาณงานและอัตรากำลังในการดำเนินงานเพื่อวางแผนการบริหารงาน ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารโรงเรียนให้เด่นชัดมากกว่านี้ บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาในการมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารให้มากขึ้น
เปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการสถานศึกษา ควรมีระบบตรวจสอบการบริหารงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษามากกว่านี้ การบริหารงานควรคำนึงถึงประโยชน์ของสถานศึกษาเป็นสำคัญมีการกำหนดแผนพัฒนา ดำเนินการและมีการรายงานผล ประเมินผลแล้วนำไปใช้ในปรับปรุงในการปฏิบัติงาน
The thematic paper served its purposes: 1) to study teachers’ and educational personnel’s participation in the school-based administration at Suwannaphum Wittayalai School under Secondary Education Service Area Office 27, 2) to compare their participation as such to their different genders, educational qualifications and working experiences, 3) to collect suggestions for and guidelines on upgrading their participation in school-based administration. The sampling groups employed for the research were: teachers and educational personnel at their school. They made up 86 subjects selected by Taro Yamane’s table at the reliability of 95 per cent and the error of 0.05. The device used for data collection was the five-rating scale questionnaire containing forty-two questions, each of which had its reliability of IOC at 0.97. Statistical units utilized for data analyses embraced: percentages, arithmetic means, standard deviations, t-tests และ F-tests. Research findings have found the following results. 1) Teachers’ and educational personnel’s participations in the school-based administration at their school mentioned above have been rated at the high scale in the overall aspect. In terms of each aspect taken into consideration, the highest scale of their participation as such was its entire system developments whereas the lowest one was its decentralization. 2) According to data on sampling groups’ different genders and educational qualifications, their participations in the school-based administration have found no significant differences in each aspect. These data, therefore, are not conducive to the determined hypotheses. In contrast, data on their different working experiences have shown striking differences with the statistical significance at .05. As a result, they are conducive to the determined hypotheses. Likewise, clear distinction of data has found in one pair with their working experiences below five years, and in another pair over 10 years. As for other pairs, statistical data do not vary. Their suggestions that follows as guidelines on school-based administration in six aspects Involve: decentralization, self-administration, participative administration, supportive leadership, the entire system development, and accountable onus. First, it is absolutely necessary to undertake surveys of job quantities and staffing rates for administrative planning. Secondly, teachers and educational personnel ought to be encouraged and supported to further their studies in succession for the sake of the career ladder of their own. Thirdly, they should have been clearer aware of their administrative roles in the school-based administration than they really are. Fourthly, administrative roles of the school panel have to be increased. Fifthly, the administrative panel must open more opportunities to take on the board teachers’ and educational personnel’s opinions. Sixthly, they should have more scrutiny systems of external and internal administrations than they currently do. Finally, they usually focus on their school benefits as the top priority. In theory, they must examine development plans and implement. In practice, it is imperative to report outcomes and evaluate them to enhance work performance.