Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษานโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชนกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อนโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชนกรุงเทพมหานครที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานตามนโยบายให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มาใช้บริการท่าเทียบเรือท่าพรานนกโดยเลือกสุ่มจากประชาชนที่มาใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาขาลงจำนวน 252 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Specified Sampling) คือ การเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากประชาชนที่มาใช้บริการท่าเทียบเรือพรานนก ดังนี้ทุกครั้ง จนกระทั่งได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติ ค่าความถี่ (ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) ผลการวิจัย พบว่า 1) นโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านความปลอดภัยของท่าเทียบเรือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านความปลอดภัยของผู้โดยสาร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) นโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานครโดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดการนโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานคร 1) ด้านความปลอดภัยของท่าเทียบเรือ ได้แก่ ควรปรับปรุงการให้บริการของพนักงานจำหน่ายตั๋วบนท่าเรือ และอบรมให้ความรู้ด้านงานบริการแก่พนักงาน อย่างสม่ำเสมอ 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ควรมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ แก่ผู้โดยสารทั้งชาวไทยและต่างชาติ 3) ด้านความปลอดภัยของผู้โดยสาร ได้แก่ ควรมีอุปกรณ์เสื้อชูชีพ ห่วงชูชีพ ให้มีจำนวนเพียงพอกับผู้โดยสาร
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษานโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชนกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อนโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชนกรุงเทพมหานครที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานตามนโยบายให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มาใช้บริการท่าเทียบเรือท่าพรานนกโดยเลือกสุ่มจากประชาชนที่มาใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาขาลงจำนวน 252 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Specified Sampling) คือ การเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากประชาชนที่มาใช้บริการท่าเทียบเรือพรานนก ดังนี้ทุกครั้ง จนกระทั่งได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติ ค่าความถี่ (ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) ผลการวิจัย พบว่า 1) นโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านความปลอดภัยของท่าเทียบเรือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านความปลอดภัยของผู้โดยสาร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) นโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานครโดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดการนโยบายการให้บริการของพนักงานขนส่ง กรมเจ้าท่า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน กรุงเทพมหานคร 1) ด้านความปลอดภัยของท่าเทียบเรือ ได้แก่ ควรปรับปรุงการให้บริการของพนักงานจำหน่ายตั๋วบนท่าเรือ และอบรมให้ความรู้ด้านงานบริการแก่พนักงาน อย่างสม่ำเสมอ 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ควรมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ แก่ผู้โดยสารทั้งชาวไทยและต่างชาติ 3) ด้านความปลอดภัยของผู้โดยสาร ได้แก่ ควรมีอุปกรณ์เสื้อชูชีพ ห่วงชูชีพ ให้มีจำนวนเพียงพอกับผู้โดยสาร
This thematic paper had the following objectives: 1) To study the service policy of the transport officers in the Marine Department that affect the safety of the people in Bangkok; 2) To compare opinions on the service policy of the transport officers in the Marine Department that had the effect on the safety of the people in Bangkok, classified with different gender, age, education level; and 3) To suggest guidelines for working according to the service policy for the transport officers in the Marine Department. It was a survey research. The sample group consisted of people who used the Tha Phran Nok Pier Service by selecting randomly from 252 people using the Chao Phraya Express Boat service. Specified sampling was used for the collection of questionnaires from the people who used Prannok Pier Service. The used tools in the research were questionnaires with the reliability of 0.90. The statistics used for data analysis were statistics, frequency (percentage), mean ( ) and standard deviation (SD). T-test and One-Way ANOVA test were used. When there were significant differences at the level of 0.05, the differences were analyzed in pairing by the method of Scheffé. The results of the research were found as follows: 1) The service policy of the transport personnel the Marine Department that affected the safety of people in Bangkok, including all 3 aspects, was at the highest level. Considering by sorting the average from descending to the highest level, the aspect of safety of the berth was at highest average, followed by the aspect of public relations and the aspect of passenger safety as the lowest mean. 2) The service policy of the transport officers in the Marine Department that affected public safety of the people in Bangkok was found that people with different gender, age and occupation had no different opinions on the service policy of the transport personnel the Marine Department that affected public safety of the people in Bangkok, including all 3 aspects. 3) Guidelines for managing the service policy of the transport officers in the Marine Department that affected public safety of the people in Bangkok were as follows: (1) The aspect of safety of the pier: There should improve the service of the ticket agent on the pier and training to provide service knowledge to employees: (2) The aspect of public relations: There should have public relations officer to provide various information to passengers, both Thai and foreigners; and (3) The aspect of passenger safety: There should have a life jacket to provide sufficient numbers of passengers.