Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 342 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t–test (Independent Samples) และ F–test ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ร้อยเอ็ด ได้แก่ 1) ผู้บริหารควรวางตัวบุคคลตามความถนัดความสามารถ ความพร้อมใจ และดูแลทั้งด้านครอบครัว สุขภาพ ภาระงานตรงตามความสามารถ 2) ผู้บริหารควรให้ความใส่ใจและไว้วางใจในการทำงานชื่นชมยินดีและไม่ก้าวก่ายแทรกแซงการทำงาน 3) ผู้บริหารควรสนับสนุนส่งเสริมในการทำงาน และช่วยแก้ไขปัญหาที่พบในการปฏิบัติหน้าที่ 4) ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้โอกาสบุคลากรในการพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพของบุคคล 5) ผู้บริหารควรให้คำชี้แนะการปฏิบัติตัว ตักเตือนการวางตัวให้อยู่ในระเบียบวินัย 6) ให้คำชี้แนะ ป้องปราม เชิญมาพูดคุยให้ความรู้ ตักเตือน บนความโปร่งใส ตรวจสอบได้
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 342 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t–test (Independent Samples) และ F–test ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ร้อยเอ็ด ได้แก่ 1) ผู้บริหารควรวางตัวบุคคลตามความถนัดความสามารถ ความพร้อมใจ และดูแลทั้งด้านครอบครัว สุขภาพ ภาระงานตรงตามความสามารถ 2) ผู้บริหารควรให้ความใส่ใจและไว้วางใจในการทำงานชื่นชมยินดีและไม่ก้าวก่ายแทรกแซงการทำงาน 3) ผู้บริหารควรสนับสนุนส่งเสริมในการทำงาน และช่วยแก้ไขปัญหาที่พบในการปฏิบัติหน้าที่ 4) ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้โอกาสบุคลากรในการพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพของบุคคล 5) ผู้บริหารควรให้คำชี้แนะการปฏิบัติตัว ตักเตือนการวางตัวให้อยู่ในระเบียบวินัย 6) ให้คำชี้แนะ ป้องปราม เชิญมาพูดคุยให้ความรู้ ตักเตือน บนความโปร่งใส ตรวจสอบได้
The objectives of the research were 1) to study personnel management based on the good governance of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Roi Et, 2) to compare personnel management based on the good governance of school administrators classified by age, education and working experiences and, 3) to find out the guidelines for personnel management based on the good governance of school administrators of the said schools. Samples were the teachers and personnel, totally 342 in number and 5 interviews. The instrument for collecting the data was the questionnaire, with its reliability value at 0.98 and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested with t-test, and One-way ANOVA F-test. The research results were as follows: 1) personnel management based on the good governance of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Roi Et was found, in both overall and individual aspects, to stand at a 'MUCH' level. The leading aspect was the enhancement of operation competency, followed by position planning and disciplinary observance, respectively. 2) The comparison of the personnel management based on the good governance of school administrators in mention classified by age, education and working experiences was found to show the statistically significant difference of 05. 3) The guidelines for personnel management based on the good governance of school administrators as suggested by the responses were 3) The guidelines for personnel management based on the good governance of school administrators as suggested by the responses were (1) Concerning the job assignment, the theory, "Put the right man in the right job." or "Put the right job in the right man." should be brought into practice. (2) The honor and merit system should be implemented for morale boosting. (3) The help and support were needed when the problems arose. (4) The providing and increasing of opportunity for staff development at full scale should be taken as one of necessities. (5) An advice and warning should be given to prevent the disciplinary violation. (6) Dialogue and negotiation should be held up for mutual understanding.