Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประกอบผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชนเผ่าปะโอจำนวน 8 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติและพฤติกรรมเป็นแบบอย่างในการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมีวุฒิภาวะ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไปบูรณาการ เพื่อความสมบูรณ์ของทฤษฎีภาวะผู้นำ หลักธรรมประกอบด้วย ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 อคติ 4 เบญจศีลและเบญจธรรม อปริหานิยธรรม 7 ทศพิธราชธรรม 10 และจักรวรรดิธรรม 12 2. ชนเผ่าปะโอก็คือเป็น Pyu มีหลักฐานตั้งถิ่นก่อน ค.ศ.600 มาจากบริเวณตอนใต้ประเทศมองโกเลียลงมาทางใต้ประเทศเมียนม่าร์ หลังจากได้พ่ายแพ้สงครามและชนเผ่าปะโอได้สร้างเมืองใหม่ชื่อว่าหม่อท่อผาเมืองสะถุ่งใหม่ปัจจุบันคือเมืองสี่แสงการเกิดของขบวนการต่อสู้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รวบรวมชาวปะโอจำนวนหนึ่งในการปกครองประเทศราช (ระบบศักดินา) การเก็บส่วยภาษีอากรทุกอย่างจากประชาชนที่การต่อสู้ทางการเมืองและเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ และองค์การแห่งชาติปะโอกับ สาธารณรัฐประชาชาติปะโอ มีการเจรจาข้อตกลงการหยุดยิงและเป็นวันการปฏิวัติล้มล้างและทำสัญญาสันติภาพเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางและวิถีทางการเมืองการปกครองใน 3 อำเภอ ได้แก่ระบบประชาธิปไตย ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จผู้นำชนเผ่าปะโอได้แสดงบทบาทภาวะผู้นำด้านการเมืองสังคมและเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน 3. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำด้านการปกครอง ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ได้ใช้หลักทศพิธราชธรรม ในการรวบร่วมกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอให้เป็นหนึ่งเดียว ภาวะผู้นำด้านสังคมผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ในการสงเสริม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมแบบจารีตและเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชนเผ่าปะโอ ภาวะผู้นำด้านเศรษฐกิจผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้สงเสริมการเกษตรโดยนำศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิตอย่างสมดุลเพื่อยกระดับคุณภาพชิวิติของชนเผ่าปะโอ จนถึงปัจจุบัน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประกอบผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชนเผ่าปะโอจำนวน 8 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติและพฤติกรรมเป็นแบบอย่างในการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมีวุฒิภาวะ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไปบูรณาการ เพื่อความสมบูรณ์ของทฤษฎีภาวะผู้นำ หลักธรรมประกอบด้วย ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 อคติ 4 เบญจศีลและเบญจธรรม อปริหานิยธรรม 7 ทศพิธราชธรรม 10 และจักรวรรดิธรรม 12 2. ชนเผ่าปะโอก็คือเป็น Pyu มีหลักฐานตั้งถิ่นก่อน ค.ศ.600 มาจากบริเวณตอนใต้ประเทศมองโกเลียลงมาทางใต้ประเทศเมียนม่าร์ หลังจากได้พ่ายแพ้สงครามและชนเผ่าปะโอได้สร้างเมืองใหม่ชื่อว่าหม่อท่อผาเมืองสะถุ่งใหม่ปัจจุบันคือเมืองสี่แสงการเกิดของขบวนการต่อสู้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รวบรวมชาวปะโอจำนวนหนึ่งในการปกครองประเทศราช (ระบบศักดินา) การเก็บส่วยภาษีอากรทุกอย่างจากประชาชนที่การต่อสู้ทางการเมืองและเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ และองค์การแห่งชาติปะโอกับ สาธารณรัฐประชาชาติปะโอ มีการเจรจาข้อตกลงการหยุดยิงและเป็นวันการปฏิวัติล้มล้างและทำสัญญาสันติภาพเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางและวิถีทางการเมืองการปกครองใน 3 อำเภอ ได้แก่ระบบประชาธิปไตย ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จผู้นำชนเผ่าปะโอได้แสดงบทบาทภาวะผู้นำด้านการเมืองสังคมและเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน 3. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำด้านการปกครอง ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ได้ใช้หลักทศพิธราชธรรม ในการรวบร่วมกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอให้เป็นหนึ่งเดียว ภาวะผู้นำด้านสังคมผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ในการสงเสริม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมแบบจารีตและเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชนเผ่าปะโอ ภาวะผู้นำด้านเศรษฐกิจผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้สงเสริมการเกษตรโดยนำศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิตอย่างสมดุลเพื่อยกระดับคุณภาพชิวิติของชนเผ่าปะโอ จนถึงปัจจุบัน
This thesis aims to: 1) to study the concept of leadership theory, 2) to study the concept of Pa Oh tribal leadership in Shan State of Myanmar, and 3) to study and analyze the leadership of the Pa Oh tribe in Shan State of Myanmar. The data of this qualitative study were collected from documents, articles, related research, and in-depth interviews with 8 key informants involving in the Pa Oh tribe, and then analyzed and presented by a descriptive method. The research results were found that 1. In leadership theory and concepts, leadership should be composed of qualifications and behaviors in systematic and effective communication, maturity and creation of relationship for the achievement of the organization. The leadership could be integrated with the Buddhist teachings for its accomplishment. The Buddhist teachings consist of Ditthadhammikattha, Sappurisadhamma, Brahmavihara Dhamma. Sanghahavatthu Dhamma, Agati, The Five Precepts and The Five Virtues, Aparihaniya Dhamma, Dasarajadhamma, and Cakkavatti Dhamma. 2. The Pa Oh tribe was Pyu having settled down in the southern region of Mongolia before AD 600, and moved down to Myanmar. Defeated in the war, the Pa Oh tribe built a new town called Mor Tho Pha Muang Tha Ton or Hsi Hseng nowadays. During World War 2, there was a movement and the gathering of a large number of Pa Oh people to rule the country in Feudal system and taxation was collected from the people who fought in politics, claimed for their rights, and The Pa Oh National Organization and The Pa Oh Nation Republic. There was an agreement for ceased fire, revolution day, and peace agreement in 3 districts under the constitution of the central government and the political and administrative means: democracy, socialism, and communism. The leaders of Pa Oh tribe expressed their leadership in politics, society, and economics and that has been successful from the past to present. 3. In government leadership, the leaders of Pa Oh tribe could unite Pa Oh people by using Dasarajadhamma. In social leadership, the leaders of Pa Oh tribe applied the principles of the Five Precepts and the Five Virtues in preserving and continuing tradition and culture of the Pa Oh tribe. In economic leadership, the leaders of Pa Oh tribe applied the principles of Ditthadhammakattha in economic, and agriculture development, and implemented the modern technology to increase the products and reduce cost, and to improve the quality of life of Pa Oh people.