Search results

1 results in 0.04s

หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to study the context of the Thai society in the past and the Thai Sangha administration in the past, 2) to study the context of modern Thai society and the Thai Sangha administration, 3) to study the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society, and 4) to present the model of the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, academic documents and in-depth interviews with 14 experts. The data were analyzed and synthesized in order to obtain the paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The results of the study indicated as follows:- 1. Changes in social contexts in the past influenced the Sangha administration in the past because monkswere a part of the social context and they had to adjust themselves in accordance with the social context as well, but they still maintained their main duty in observing the Dhamma and Vinaya. 2. The context of modern Thai society had changes in social, political, and economical structures. Feudalism was declined and replaced by educated middle class and democracy. Thai people were under the constitution. The changes also had impacts to the Sangha administration. Other than to follow the principles of Dhamma and Vinaya, monks had to follow the Sangha Act. This practice was to follow the current Thai social context. 3. Paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society was through 6 Sangha affairs; government, religious studies, educational welfare, propagation, public facilities, and the public welfare. The paradigm of the Thai Sangha administrationwas in accordance withthe Thai Sangha Act with the implementation of the Supreme Sangha Council. 4. The new knowledge about “Paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society” is “SPEE Model”.