Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าและรวบรวมแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา และศึกษาเอกสารทางวิชาการ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นกลุ่มคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหากะทัดรัด และมีเรื่องราวประกอบคำอธิบาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการเรียนรู้ชีวิตชี้แนะแนวทางการประพฤติตนของพุทธบริษัทให้เข้าใจและถึงแก่นธรรมของพระองค์ โดยทรงพิจารณาตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล คำสอนที่ทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อความสุขสงบทั้งแก่ผู้ปฏิบัติและแก่ผู้อื่น 2. จริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีแนวคิดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1)ระดับมูลฐาน คือ ศีล 5 และเบญจธรรม 2) ระดับกลาง มีการประพฤติชอบทางกาย การประพฤติชอบทางวาจา และการประพฤติชอบทางใจ 3) ระดับสูง คือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ 3. แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีหลักธรรมที่แยกแยะความดี-ความชั่วได้ชัดเจน สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยค้นพบคือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความเร้าร้อนในระดับพฤติกรรม ความรู้สึก และแนวความคิด หากนำวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำย่อมสามารถแก้ปัญหาความเดือนร้อนวุ่นวายใจและความไม่สงบในสังคมได้ และพบว่า บุคคลควรมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ดี ครั้นมีเป้าหมายดีแล้วย่อมประครองชีวิตให้ดำเนินไปสู่วิถีอันสิ่งดีงาม ผลดีก็ย่อมบังเกิด ความเป็นอยู่ปัจจุบันก็ไม่เดือดร้อนใจ และเมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในสุคติภพ หรือไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏคือบรรลุพระนิพพานในที่สุด
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าและรวบรวมแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา และศึกษาเอกสารทางวิชาการ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นกลุ่มคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหากะทัดรัด และมีเรื่องราวประกอบคำอธิบาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการเรียนรู้ชีวิตชี้แนะแนวทางการประพฤติตนของพุทธบริษัทให้เข้าใจและถึงแก่นธรรมของพระองค์ โดยทรงพิจารณาตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล คำสอนที่ทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อความสุขสงบทั้งแก่ผู้ปฏิบัติและแก่ผู้อื่น 2. จริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีแนวคิดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1)ระดับมูลฐาน คือ ศีล 5 และเบญจธรรม 2) ระดับกลาง มีการประพฤติชอบทางกาย การประพฤติชอบทางวาจา และการประพฤติชอบทางใจ 3) ระดับสูง คือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ 3. แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีหลักธรรมที่แยกแยะความดี-ความชั่วได้ชัดเจน สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยค้นพบคือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความเร้าร้อนในระดับพฤติกรรม ความรู้สึก และแนวความคิด หากนำวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำย่อมสามารถแก้ปัญหาความเดือนร้อนวุ่นวายใจและความไม่สงบในสังคมได้ และพบว่า บุคคลควรมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ดี ครั้นมีเป้าหมายดีแล้วย่อมประครองชีวิตให้ดำเนินไปสู่วิถีอันสิ่งดีงาม ผลดีก็ย่อมบังเกิด ความเป็นอยู่ปัจจุบันก็ไม่เดือดร้อนใจ และเมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในสุคติภพ หรือไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏคือบรรลุพระนิพพานในที่สุด
The objectives of this thesis are: 1) to study the Dhammapada and its commentaries, 2) to study ethics in the Dhammapada and its commentaries, and 3) to analyze ethics in the Dhammapada and its commentaries. This qualitative work was developed by conducting the data from the Dhammapada, commentaries, textbooks, and related documents. Research results were found that : 1. The Dhammapada and its commentaries are the Buddha’s collection of teachings with concise contents and stories alongside explanation. The Buddha showed how to learn about life and guided how Buddhist should behave for everyone to comprehend and reach the core of his Dhamma by contemplating individual characteristic. His teachings are for the peaceful bliss of those who practice as well as the others. 2. Ethics in the Dhammapada and its commentaries comprise of 3 levels of concept; 1) the basic level which are the 5 Precepts and the 5 Virtues; 2) the intermediate level which are proper deeds in terms of physical behavior, speech, and thinking; and 3) the advanced level which are right views, right intention, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right concentration. 3. Once analyzed, it was found that there are moral principles categorizing goodness and badness. A significant discovery was the solutions for vehemence of behavior, feelings, and thinking. If one follows the Buddha’s teachings, one will be able to solve mental unrest and chaotic society. Also, one should live a virtuous life. Good things will follow, and livelihood will not be in distress. After death, one will be reborn in the realms of happiness or attain Nibbana in the end.