Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา พุทธศาสนาได้ให้ความหมายของกรรมว่า คือ การกระทำอันเกิดจากเจตนา คือ ความจงใจ ความตั้งใจ ที่เป็นกุศลและอกุศล ที่แสดงออกทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อได้กระทำกรรมสำเร็จแล้ว ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ พุทธศาสนา แบ่งการให้ผลของกรรมออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับจิตใจ ระดับบุคลิกภาพ ระดับวิถีชีวิตบุคคล และระดับสังคม ในส่วนแห่งองค์ประกอบที่ส่งเสริมและขัดขวางการให้ผลของกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ 4 คู่ ที่เรียกว่า สมบัติ (ข้อดี) และวิบัติ (ข้อเสีย) อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้เข้าถึงคำสอนของพระพุทธศาสนามุ่งสอนให้บุคคลกระทำแต่กรรมดีและพัฒนาตนเองให้หมดกิเลสและอยู่เหนือกฎแห่งกรรมดังดังพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นเอง 2. ทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย กรรมในทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธไทยนั้น นักปราชญ์ชาวพุทธไทยพยายามอธิบายขยายความคำสอนเรื่องกรรมในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคำสอนชั้นปฐมภูมิและเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจได้ยาก เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในคำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา โดยได้อธิบายให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งแยกประเภทแห่งกรรมไว้กี่ประเภท มีชื่อมีลักษณะและทำหน้าที่ต่างกันอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงการให้ผลของกรรม เป็นการขจัดข้อกังขาในปัญหาที่ว่า กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร 3. วิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย นักปราชญ์ไทยในที่นี้หมายถึง พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร, ป.ธ. 9) และวศิน อินทสระ ผลการวิจัยพบว่า การอธิบายเรื่องกรรมของนักปราชญ์ทั้ง 2 ท่าน เป็นความพยายามอธิบายให้เข้าใจในเรื่องของกรรม ว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งกรรมออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภททำหน้าที่ให้ผลต่างกันอย่างไรบ้าง เป็นการอธิบายให้เข้าใจความเป็นไปแห่งวิบากกรรมของกรรมแต่ละประเภท เพื่อขจัดความไม่เข้าใจในปัญหาเรื่องกรรม เช่น กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ส่วนในเรื่องจุดมุ่งหมายในการอธิบายขยายความเพิ่มนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและนำไปปฏิบัติเพื่อเผาผลาญสังหารกรรม ให้หมดไปเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้เรื่องกรรมในพุทธศาสนา พุทธศาสนาได้ให้ความหมายของกรรมว่า คือ การกระทำอันเกิดจากเจตนา คือ ความจงใจ ความตั้งใจ ที่เป็นกุศลและอกุศล ที่แสดงออกทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อได้กระทำกรรมสำเร็จแล้ว ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ พุทธศาสนา แบ่งการให้ผลของกรรมออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับจิตใจ ระดับบุคลิกภาพ ระดับวิถีชีวิตบุคคล และระดับสังคม ในส่วนแห่งองค์ประกอบที่ส่งเสริมและขัดขวางการให้ผลของกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ 4 คู่ ที่เรียกว่า สมบัติ (ข้อดี) และวิบัติ (ข้อเสีย) อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้เข้าถึงคำสอนของพระพุทธศาสนามุ่งสอนให้บุคคลกระทำแต่กรรมดีและพัฒนาตนเองให้หมดกิเลสและอยู่เหนือกฎแห่งกรรมดังดังพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นเอง 2. ทัศนะเรื่องกรรมของนักปราชญ์ชาวพุทธไทย กรรมในทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธไทยนั้น นักปราชญ์ชาวพุทธไทยพยายามอธิบายขยายความคำสอนเรื่องกรรมในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคำสอนชั้นปฐมภูมิและเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจได้ยาก เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในคำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา โดยได้อธิบายให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งแยกประเภทแห่งกรรมไว้กี่ประเภท มีชื่อมีลักษณะและทำหน้าที่ต่างกันอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงการให้ผลของกรรม เป็นการขจัดข้อกังขาในปัญหาที่ว่า กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร 3. วิเคราะห์กรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย นักปราชญ์ไทยในที่นี้หมายถึง พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร, ป.ธ. 9) และวศิน อินทสระ ผลการวิจัยพบว่า การอธิบายเรื่องกรรมของนักปราชญ์ทั้ง 2 ท่าน เป็นความพยายามอธิบายให้เข้าใจในเรื่องของกรรม ว่าพระพุทธศาสนาได้แบ่งกรรมออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภททำหน้าที่ให้ผลต่างกันอย่างไรบ้าง เป็นการอธิบายให้เข้าใจความเป็นไปแห่งวิบากกรรมของกรรมแต่ละประเภท เพื่อขจัดความไม่เข้าใจในปัญหาเรื่องกรรม เช่น กรรมมีผลจริงหรือไม่ หากกรรมมีผลจริง กรรมนั้นจะให้ผลเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ส่วนในเรื่องจุดมุ่งหมายในการอธิบายขยายความเพิ่มนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและนำไปปฏิบัติเพื่อเผาผลาญสังหารกรรม ให้หมดไปเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the knowledge of karma in Buddhism; 2) to study the views on karma of Thai Buddhist sages; 3) to analyze karma according to the views of Buddhist sages in Thai society This research is a qualitative research. and using the data obtained for descriptive analysis. The results of the research were as follows: 1. Knowledge of Karma in Buddhism Buddhism has defined karma as actions that result from intention, willful and unwholesome intentions. which manifests physically, verbally and mentally when the karma has been done successfully. would receive appropriate results for that karma. Buddhism divides the effect of karma into 4 levels: mental level, personality level. level of person's way of life and social level as for the elements that promote and hinder the effect of that karma. Depends on the 4 pairs of various elements known as treasure (advantages) and disaster (disadvantages). However, when looking at the teachings of Buddhism, it aims to teach people to do good deeds and develop themselves to be free from defilements and to be above the law of karma as mentioned. The Lord Almighty 2. The view of karma of Thai Buddhist philosophers Karma in the view of Thai Buddhist philosophers Thai Buddhist scholars try to explain and expand the teachings of karma in the Tripitaka. This is a primary teaching and is a language that is difficult for the general public to understand. To prevent misunderstandings in the teachings of karma in Buddhism By explaining how many types of karma have been categorized in Buddhism. What are the different names and functions? along with pointing out the results of karma to eliminate doubts about the problem that is karma really effective? If karma is real how will the effect be the same or different. 3. Analyze karma according to the views of Buddhist scholars in Thai society. Thai philosophers here refer to Phra Phrommoli (Wilas Yarnavaro, Phor.Thor. 9) and Wasin Inthasara. The explanation of karma by the two scholars is an attempt to explain the matter of karma. that Buddhism has divided karma into how many types and how does each type act differently? It is an explanation to understand the possibility of each kind of karma. to eliminate the misunderstanding of the problem of karma, such as whether karma is real If karma is real How will the effect be the same or different? As for the purpose of expanding the explanation So that the reader can easily understand and put into practice to burn karma. to finally reach nirvana.