Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
This thesis has the objectives as follows: 1) to study the principles of wrong view in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy, 3) to analyze the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy. The study is a documentary qualitative research. The results of the study indicated that: 1. The wrong view in Buddhism means to adhere with a wrong view or with ignorance that it is me, mine and myself. Furthermore, it is believed that giving is fruitless, worship is fruitless, sacrifice is fruitless, there are no results of action, there is no this world, there is next world, there is father, there is mother, there are no beings who were dead and born, there are no recluses and Brahmans who have a good practice, there are no recluses and Brahmans who obtained the realization with their wisdom and then revealed it to the others. 2. The wrong view individuals in Theravada Buddhists philosophy mean the individuals having their views different from or other than the righteousness and their views can deflect the attainment to the noblemanship. There are 4 types of the wrong view individuals depending their backgrounds and characteristics; 1) Individuals with self-mortification, 2) Individuals with self-indulgence, 3) Individuals with belief in eternalism, and 4) Individuals with belief in annihilation. 3. The wrong view individuals in Theravada Buddhist philosophy can be analyzed as follows: 1) The causes that make individuals have the wrong view are both internal and external. The internal causes consist of attachment at the Five Aggregates, attachment to internal sense, ignorance, contact, memory, worry and uncritical reflection. The external causes consist of external sense, accompany with false friends or Paratoghosa causing belief and consideration without critical reflection. 2) The results of being the wrong view individuals can cause the wrong practice from the principles of Buddhism to 2 extreme practices called “anta’; (1) Self-indulgence, and (2) Self-mortification. 3) The Buddhist principles that can withdraw the wrong view of each group are that; 1) Majjhimapatipada, Anattalakkhana Sutta, and Moneyapatipada are for the wrong view individuals with self-mortification, 2) Anupubbikatha, Asubhakammatthana, and Appamada Dhamma are for the wrong view individuals with self-indulgence, 3) The Three Common Characteristics, Anupandana, and Tacapanca Kammatthana are for the wrong view individuals with eternalism, and 4) Adittatapariyaya Sutta, Paticcasamuppada, and Yonosomanasokara are for the wrong view individuals with annihilation.