Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการทำสมาธิในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค รวมทั้งเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาธิในพุทธศาสนา คือการมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์มี 3 ระดับ คือ ขนิกสมาธิเป็นสมาธิขั้นต้นสำหรับบุคคลทั่วไป อุปจารสมาธิเป็นสมาธิขั้นระงับเป็นการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิดำรงอยู่นานสงบนิ่งแน่วแน่เป็นเอกัคคตา และวิปัสสนากรรมฐานเป็นข้อปฏิบัติในการฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งในรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ 2) การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเน้นการปฏิบัติจริง ไม่เน้นความเข้าใจในหลักปริยัติ เน้นการปฏิบัติที่สมบูรณ์ในไตรสิกขา มีคำบริกรรม “พุทโธ” กำกับในอิริยาบถต่างๆ โดยกำหนดลมหายใจตามหลักอานาปานสติกัมมัฏฐาน และเน้นการปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา เพื่อช่วยบุคคลทั้งหลายให้มีการดำเนินชีวิตอย่างปกติ 3) หลวงปู่มั่นเน้นเรื่องการพิจารณากายหรือกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน เริ่มจากมูลกัมมัฏฐานหรือกัมมัฏฐาน 5 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง ใช้อสุภกัมมัฏฐานพิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลของน่าเกลียด การปฏิบัติดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติเพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา นั่นคือการ ฝึกหัดจิตให้พิจารณากาย เมื่อพิจารณากายเห็นแจ้งประจักษ์ดังนี้ จิตของแต่ละบุคคลก็จะพ้นจากสมมติและอยู่ในวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากความทุกข์)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการทำสมาธิในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค รวมทั้งเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาธิในพุทธศาสนา คือการมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์มี 3 ระดับ คือ ขนิกสมาธิเป็นสมาธิขั้นต้นสำหรับบุคคลทั่วไป อุปจารสมาธิเป็นสมาธิขั้นระงับเป็นการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิดำรงอยู่นานสงบนิ่งแน่วแน่เป็นเอกัคคตา และวิปัสสนากรรมฐานเป็นข้อปฏิบัติในการฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งในรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ 2) การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเน้นการปฏิบัติจริง ไม่เน้นความเข้าใจในหลักปริยัติ เน้นการปฏิบัติที่สมบูรณ์ในไตรสิกขา มีคำบริกรรม “พุทโธ” กำกับในอิริยาบถต่างๆ โดยกำหนดลมหายใจตามหลักอานาปานสติกัมมัฏฐาน และเน้นการปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา เพื่อช่วยบุคคลทั้งหลายให้มีการดำเนินชีวิตอย่างปกติ 3) หลวงปู่มั่นเน้นเรื่องการพิจารณากายหรือกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน เริ่มจากมูลกัมมัฏฐานหรือกัมมัฏฐาน 5 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง ใช้อสุภกัมมัฏฐานพิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลของน่าเกลียด การปฏิบัติดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติเพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา นั่นคือการ ฝึกหัดจิตให้พิจารณากาย เมื่อพิจารณากายเห็นแจ้งประจักษ์ดังนี้ จิตของแต่ละบุคคลก็จะพ้นจากสมมติและอยู่ในวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากความทุกข์)
The objectives of this thesis were : 1) to study meditation in Buddhism, 2) to study the Buddho meditation of Luang Pu Mun Phuritatto, and 3) to analyze the Buddho meditation of Luang Pu Mun Phuritatto, based on Theravada Buddhist philosophy. This thesis is a documentary research by studying and analyzing data from Buddhist scriptures such as the Tripitaka, Commentary and Pakorn Vises Visuddhimagga including academic papers and related research and then presented with an analytical description. The results of the research found that: 1) Mediation in Buddhism included of 3 levels of emotional confidence namely momentary concentration(Khanikasamadhi)which means to an initial meditation for the general people, proximate concentration (Upacarasamadhi) means to calming mediation that trains the mind to be calm until it developed to concentrated, fixed concentration (Uppanasamadhi) means to a long-standing meditation, calm and firm was one-pointedness of mind, and Vipassana meditation means to the practice of training to develop wisdom to achieve enlightenment in the noun by the three characteristics(Ti-lakkhana). 2) The Buddho meditation of Luang Pu Mun Phuritatto, emphasized practicality, not focus on understanding the rules, emphasis on complete practice in threefold training (Ti-Sikkha), with the blessing of "Buddho" directed in various gestures by setting the breath according to the principle of the Anapanasati Meditation (Three fold training) and emphasized the practice in alms, precepts, and prays to help people to live a normal life. 3) Luang Pu Mun emphasizes on physical considerations, or Kayanupassana mindfulness starting from 5 Mulakammathanas included of hair, fur, nails, teeth, and skin. He uses the undesirable nature for considering to the sewage. This practice is to consistent with the practice of purifying the mind in Buddhism which is how to train the mind to consider the body. Whenever considering the enlightened body, the mind of the individual will be freed from the assumption and in liberation (free from the suffering).