Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ พรรษา และระดับการศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพระสงฆ์รวมทั้งสิ้น 515 รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 ผลการวิจัยพบว่า: 1. ระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านสังคม รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสาธารณสุข 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกอายุ พรรษา ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน ควรมีแนวทางการถวายความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ ชุมชนควรให้ความใส่ใจกับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณี เป็นการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น ฝ่ายปกครองในชุมชนควรให้ความร่วมมือกับพระสงฆ์ในการจัดกิจกรรมหรือโครงการอบรมเพื่อต่อต้านยาเสพติดให้แก่ประชาชน ควรปลูกจิตสำนึกให้แก่ชุมชนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ พรรษา และระดับการศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพระสงฆ์รวมทั้งสิ้น 515 รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 ผลการวิจัยพบว่า: 1. ระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านสังคม รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสาธารณสุข 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกอายุ พรรษา ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน ควรมีแนวทางการถวายความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ ชุมชนควรให้ความใส่ใจกับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณี เป็นการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น ฝ่ายปกครองในชุมชนควรให้ความร่วมมือกับพระสงฆ์ในการจัดกิจกรรมหรือโครงการอบรมเพื่อต่อต้านยาเสพติดให้แก่ประชาชน ควรปลูกจิตสำนึกให้แก่ชุมชนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
The objectives of this research were 1) to study the level of Buddhist monks' participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province 2) to compare the Buddhist monks’ participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province, classified by age, lent and education level 3) to suggest guidelines of the Buddhist monks’ participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province. The sample group consisted of 515 Buddhist monks, determined using the Krejcie and Morgan tables. The instrument used for data collection was a 5-level estimation scale questionnaire with content accuracy of 0.80-1.00 and the confidence is 0.97. The results of the research found that: 1. The level of Buddhist monks' participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province: overall was at a high level. When considering each aspect in descending order of average from highest to lowest was social, followed by culture, and environment, and the lowest aspect was public health 2. Comparison of the level of Buddhist monks' participation in the development of communities in Selaphum district, Roi Et province, classified by age, lent, education Level differed statistically at the .05 level 3. Suggestions for guidelines of Buddhist monks’ participation in community development: should be guidelines to educate monks, the community should pay attention to activities on important days for as to conserve and promote culture and traditions in order to development of arts and culture to be more prosperous, community governance should cooperate with monks in organizing activities or anti-drugs training programs for the people, should cultivate consciousness in the community to have volunteer spirit in conservation and environmental promotion.