Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการที่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธ์ จำนวน 257 รูป โดยวิธีคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.817 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และ ค่า F-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. พระสังฆาธิการมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการวิเคราะห์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. ผลเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามสังกัดคณะสงฆ์ พรรษา ระดับการศึกษาทางธรรม และตำแหน่งทางคณะสงฆ์โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นระดับการศึกษาทางโลกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ควรจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการวางแผนจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และควรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการที่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธ์ จำนวน 257 รูป โดยวิธีคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.817 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และ ค่า F-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. พระสังฆาธิการมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการวิเคราะห์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. ผลเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามสังกัดคณะสงฆ์ พรรษา ระดับการศึกษาทางธรรม และตำแหน่งทางคณะสงฆ์โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นระดับการศึกษาทางโลกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ควรจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการวางแผนจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และควรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์
The objectives of this thesis were to 1) study the level of promotion of skills in using information technology of the administrative monks for Sangha governance of Kalasin Province 2) study and compare the promotion of skills in using information technology of the administrative monks for Sangha governance of Kalasin Province and 3) study the recommendations on the promotion of skills in using information technology of the administrative monks for Sangha governance of Kalasin Province. It is a quantitative research. The sample group was 257 monks in Kalasin province by method of calculating the sample size according to the Taro Yamane formula. The data collection tool was a questionnaire on a 5-level estimation scale of 30 items with a confidence level of 0.817. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test. The statistical significance was set at the .05 level. The results of research were found that : 1. The administrative Sangha has promoted the use of information technology was found that the overall level was at a high level. When considering each aspect was found that the ability to analyze information technology media with the highest average, followed by the application of information technology, the use of information technology and in terms of management of information technology was the least average. 2. Comparative results of promoting skills in using information technology of administrative sangha in Sangha governance of Kalasin Province Classified by Sangha affiliation, age of monks, level of moral education and Sangha position were not statistically significantly different at the .05 level excepting secular education levels was statistically different at the .05 level. 3. Recommendations for promoting skills in using information technology of the administrative monks in Sangha governance of Kalasin Province as follow: Information technology budget should be allocated, there should be a plan to organize training on the use of information technology, there should have morals and ethics in the use of information technology media and there should apply information technology for public relations.