Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
The objectives of this thesis are; 1) to study epistemology in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study epistemology in Taoist Philosophy, and 3) to compare epistemology in Theravada Buddhist Philosophy and epistemology in Taoist Philosophy. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The result of the research found that: 1. Epistemology in Theravada Buddhist Philosophy means listening-based knowledge through consideration and reflection to understanding. It is a knowledge that can be reasoned through careful reflection or realization without credulity, and it can be proven and implemented for the ultimate goal or totally liberation from desire. 2. Epistemology in the Taoist philosophy means knowledge relevant to the natural path, knowledge without the composition of human desire, and knowledge transcendent all human thoughts and actions. Taoist philosophy accepts knowledge of absolute truth by not violating the natural path. It is the knowledge to change or to control the world, but to be unity with the nature. 3. The comparison of epistemology in Theravada Buddhist philosophy and epistemology in Taoist philosophy can be concluded that Theravada Buddhist philosophy accepts knowledge that can liberate suffering in Samsara, or liberation from all defilements through practice until attaining the realization. The Taoist philosophy accepts the knowledge that can unite with nature by the practice consistent with the natural way without any actions violating to the natural way.