Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 3. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 70 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 1 คน และครู 2 คน รวมทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า : 1. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ และการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการประเมินการบริหารแหล่งเรียนรู้ และด้านการปรับปรุงการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 3. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 75.50 (R2 = .755) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Yˆ = 0.354 + 0.366 (x4) + 0.278 (x3) + 0.228 (x5) สมการคะแนนมาตรฐาน Zˆ = 0.376 (x4) + 0.283 (x3) + 0.239 (x5)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 3. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 70 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 1 คน และครู 2 คน รวมทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า : 1. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ และการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการประเมินการบริหารแหล่งเรียนรู้ และด้านการปรับปรุงการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 3. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 75.50 (R2 = .755) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Yˆ = 0.354 + 0.366 (x4) + 0.278 (x3) + 0.228 (x5) สมการคะแนนมาตรฐาน Zˆ = 0.376 (x4) + 0.283 (x3) + 0.239 (x5)
The objectives of this research were : 1. to study the integrated administration of Sangahavatthu principles of school administrators under the Office of Secondary Education Service area 33, 2. to study the management of learning resources in school under the Office of Secondary Education Service area 33 and, 3. to study the integrated administration of Sangahavatthu of school administrators affecting the management of learning resources in schools under the Office of Secondary Education Service area 33. The sample group consisted of 70 schools under the Office of Secondary Education Service area 33. The data providers consisted of one school administrator, one academic group leader, and two teachers, totaling 280 persons. The research instrument was a questionnaire. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation. and stepwise multiple regression analysis. The results of research were as follows : 1. Integrated management of Sangahavatthu principles of school administrators under the Office of Secondary Education Service area 33 in overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that at a high level in all aspects. The averages were sorted from highest to lowest as follows: Integrated planning on Sangahavatthu principles, Integrated administration of Sangahavatthu principles, Integrative control of Sangahavatthu principles, Integrated Organizational on Sangahavatthu Principles and integrative coordination of Sangahavatthu principles, respectively. 2. Management of learning resources in school under the Office of Secondary Education Service area 33 in overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that at a high level in all aspects. The averages were sorted from highest to lowest as follows: planning of management of learning resources, management of learning resources, assessment of the management of learning resources and improvement in learning resource management, respectively. 3. Integrated management of Sangahavatthu principles of school administrators affects the management of learning resources in school under the Office of Secondary Education Service area 33, in order of priorities namely the aspect of integrated coordination on the Sangahahavatthu principle, Integrated administration of Sangahavatthu principles, Integrated control of Sangahavatthu principles with a predictive coefficient or predictive power of 75.50 percent (R2 = .755) statistically significant at the .01 level. The relationship can be written in the form of a forecast equation as follows : Raw score equation Yˆ = 0.354 + 0.366 (x4) + 0.278 (x3) + 0.228 (x5) The standard score equation Zˆ = 0.376 (x4) + 0.283 (x3) + 0.239 (x5)