Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาแรงงานทางทะเล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาแรงงานทางทะเลในเขตท่าเรือศรีราชา 3) เพื่อวิเคราะห์เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานทางทะเลที่เหมาะสม โดยกำหนดขอบเขตการวิจัยสภาพปัญหาแรงงานทางทะเลของเรือสินค้าที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องของการจ้างงาน และสภาพความเป็นอยู่ระหว่างการเรียกร้องค่าจ้างจากเจ้าของเรือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยทางเอกสาร ( Document Research) โดยศึกษาจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ เอกสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศโดยการนำพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 และอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ.2006 เป็นกรอบในการวิเคราะห์ เนื่องจากเป็นแม่บทหลักในการปฏิบัติกรณีเกิดปัญหาแรงงานทางทะเล ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตท่าเรือศรีราชาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเรือสินค้าที่ชักธงชาติอื่นที่ ไม่ใช่ธงประเทศไทย และปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเรื่องการค้างจ่ายค่าจ้างคนประจำเรือ และปัญหาการส่งตัวกลับ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นด้วยเช่น ปัญหาเรื่องสภาพที่อยู่อาศัยบนเรือของคนประจำเรือ ปัญหาเรื่องชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและชั่วโมงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ปัญหาเรื่องอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่เพียงพอ ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงปัญหาด้านความปลอดภัยที่ไม่ได้มาตรฐานบนเรือ 2) การเลือกจดทะเบียนเรือ และการถือสัญชาติของเรือเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดปัญหา ซึ่งการจดทะเบียนเรือนี้มี 2 แบบ คือ การจดทะเบียนเรือแบบเปิด ( Open Registry) และการจดทะเบียนเรือแบบปิด (Close Registry) ซึ่งการจดทะเบียนเรือแบบปิดจะกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับและมาตรการต่างๆให้เจ้าของเรือต้องปฎิบัติตาม ส่งผลให้เจ้าของเรือบางส่วนต้องการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจึงไปจดทะเบียนเรือแบบเปิดที่มีขั้นตอนการจดทะเบียนที่สะดวก ไม่เข้มงวดในเรื่องใบตรวจสภาพเรือ สามารถจ้างแรงงานราคาถูกได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดมาตรฐานสภาพความเป็นอยู่ของคนประจำเรือได้ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ คือ องค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) , องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) , องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ควรกำหนดมาตรการที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการจดทะเบียนเรือ และควรกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนกับเจ้าของเรือที่ไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับ และรัฐเจ้าของธงที่ปล่อยละเลยให้เรือที่ชักธงประเทศตนไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ นอกจากนี้องค์กรภาครัฐ หรือหน่วยงานที่มีอำนาจ (Competent authority) ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาแรงงานทางทะเลในด้านต่างๆมากขึ้น รวมถึงสร้างเครือข่ายกับองค์กรเอกชน อุตสาหกรรมเรือ รวมถึงคนประจำเรือ เพื่อหาข้อมูล มาศึกษาเพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหา
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาแรงงานทางทะเล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาแรงงานทางทะเลในเขตท่าเรือศรีราชา 3) เพื่อวิเคราะห์เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานทางทะเลที่เหมาะสม โดยกำหนดขอบเขตการวิจัยสภาพปัญหาแรงงานทางทะเลของเรือสินค้าที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องของการจ้างงาน และสภาพความเป็นอยู่ระหว่างการเรียกร้องค่าจ้างจากเจ้าของเรือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยทางเอกสาร ( Document Research) โดยศึกษาจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ เอกสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศโดยการนำพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 และอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ.2006 เป็นกรอบในการวิเคราะห์ เนื่องจากเป็นแม่บทหลักในการปฏิบัติกรณีเกิดปัญหาแรงงานทางทะเล ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตท่าเรือศรีราชาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเรือสินค้าที่ชักธงชาติอื่นที่ ไม่ใช่ธงประเทศไทย และปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเรื่องการค้างจ่ายค่าจ้างคนประจำเรือ และปัญหาการส่งตัวกลับ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นด้วยเช่น ปัญหาเรื่องสภาพที่อยู่อาศัยบนเรือของคนประจำเรือ ปัญหาเรื่องชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและชั่วโมงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ปัญหาเรื่องอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่เพียงพอ ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงปัญหาด้านความปลอดภัยที่ไม่ได้มาตรฐานบนเรือ 2) การเลือกจดทะเบียนเรือ และการถือสัญชาติของเรือเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดปัญหา ซึ่งการจดทะเบียนเรือนี้มี 2 แบบ คือ การจดทะเบียนเรือแบบเปิด ( Open Registry) และการจดทะเบียนเรือแบบปิด (Close Registry) ซึ่งการจดทะเบียนเรือแบบปิดจะกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับและมาตรการต่างๆให้เจ้าของเรือต้องปฎิบัติตาม ส่งผลให้เจ้าของเรือบางส่วนต้องการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจึงไปจดทะเบียนเรือแบบเปิดที่มีขั้นตอนการจดทะเบียนที่สะดวก ไม่เข้มงวดในเรื่องใบตรวจสภาพเรือ สามารถจ้างแรงงานราคาถูกได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดมาตรฐานสภาพความเป็นอยู่ของคนประจำเรือได้ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ คือ องค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) , องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) , องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ควรกำหนดมาตรการที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการจดทะเบียนเรือ และควรกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนกับเจ้าของเรือที่ไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับ และรัฐเจ้าของธงที่ปล่อยละเลยให้เรือที่ชักธงประเทศตนไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ นอกจากนี้องค์กรภาครัฐ หรือหน่วยงานที่มีอำนาจ (Competent authority) ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาแรงงานทางทะเลในด้านต่างๆมากขึ้น รวมถึงสร้างเครือข่ายกับองค์กรเอกชน อุตสาหกรรมเรือ รวมถึงคนประจำเรือ เพื่อหาข้อมูล มาศึกษาเพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหา
The purposes of this study were : 1) to study the problems of maritime labour 2) to study the problem of maritime labour in Sriracha Port 3) to analyze and suggest a suitable solution to the problems of maritime labour by defining the scope of research on the condition of maritime labour of merchant ships that are not fair in terms of employment and living conditions during the claim for wages from the ship-owner. It is a qualitative research. Emphasis on document research by studying book, thesis, articles, documents in both Thai and foreign languages by applying the Maritime Labour Act. B.E. 2558 and Maritime Labour Convention 2006 as a framework for analyze as it is the main principle in the case of maritime labour problems. Based on the findings, it was concluded that ; 1) The most of problem in Sriracha Port will occur with other flags carry on board that are not Thai flags, moreover, there will be a problem of Seafarers’ wages arrears and repatriation problems. These problems are related to other issues as well, such as Problems with living conditions on ships, regulated hours of works more than hours of rest , food and drinking water are not appropriate quality including non- standard security issues. 2) One of the main reasons for the problem of seafarer is arising from the selection and registration of the vessel that is to say Open Registry offers better benefits than Close Registry because Close Registry will defined the rules , regulation and protocol for ship- owner to follow. As a result, some ship – owners want to reduce the costs, so they go to register their Open authorities nonetheless, Open registry will set convenient process, not strict in ship s inspecting certificate can hire cheap labour nonetheless, it can also reduce the standard of living conditions for Seafarers. 3) Recommendation on research : International organization such as IMO,UN , ILO should establish protocol related to the registration of ships and should impose sanctions on ship owners who not comply with the regulations. In addition, competent authorities should pay more attention to the problem of seafarers including building networks with private organization,ship industry including seafarers to find more information to study and find ways to prevent problems.